การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียว ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียวในตำบลแม่ปะ และศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างความชุกของโรคอุจจาระร่วงและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียว วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ (1) การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียวด้วยวิธีการจัดลำดับ (2) การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างความชุกของโรคอุจจาระร่วงและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียวด้วยวิธีการซ้อนทับข้อมูล ผลจากการศึกษาพบว่าพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียวในระดับมากที่สุดมีอุณหภูมิพื้นผิว 21.84-23.15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 70.20-72.58 มีการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินประเภทชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ระดับความหนาแน่นของแผงลอยขายอาหารสด ห้องสุขาสาธารณะและห้องสุขาภายในครัวเรือนอยู่ในระดับหนาแน่นมากที่สุด และที่ทิ้งขยะชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับปานกลาง ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่พบว่าความชุกของโรคอุจจาระร่วงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียวที่ระดับความเชื่อมั่น (R2) เท่ากับ 0.8445 เมื่อใช้วิธีการทางสถิติ แต่ไม่พบความสัมพันธ์เมื่อใช้วิธีการซ้อนทับข้อมูล ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการศึกษาการเกิดโรค พาหะนำโรค รวมถึงการจัดการและควบคุมโรคหรือแมลงพาหะในอนาคต
คำสำคัญ : วิธีการจัดลำดับ; ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่; ความชุกของโรคอุจจาระร่วง; แหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียว
Article Details
References
[2] คม สุคนธสรรพ์ และกาบแก้ว สุคนธสรรพ์, 2553, แมลงวันหัวเขียวที่มีความสำคัญในราชอาณาจักรไทย, กู๊ด-พริ้นท์ พริ้นท์ติ้ง, เชียงใหม่.
[3] Chaikaew, N., Tripathi, N.K. and Souris, M., 2009, Exploring spatial patterns and hotspots of diarrhea in Chiang Mai, Thailand, Int. J. Health Geograph. 8: 1-10.
[4] Charoenpanyanet, A., 2011, Anopheles Mosquito Density Predictive Model Using Remotely Sensed Data, Lambert Academic Publishing, Düsseldorf.
[5] Santos, C.B., Araújo, K.C.G.M., Jardim-Botelho, A., Santos, M.B., Rodrigues, A., Dolabella, S.S. and Gurgel, R.Q., 2014, Diarrhea incidence and intestinal infections among rotavirus vaccinated infants from a poor area in Brazil: A spatial analysis, BMC Publ. Health 14: 1-8
[6] Department of the Interior U.S. Geological Survey, 2016, LANDSAT 8 (L8) Data Users Handbook Version 2.0, Available Source: https://landsat.usgs.gov/sites/default/files/documents/Landsat8DataUsersHandbook.pdf, March 5, 2017.
[7] กาบแก้ว สุคนธสรรพ์, แมลวัน, แหล่งที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/public/Fly.htm, 2 พฤษภาคม 2560.
[8] Mendoza, G.A., Macoun, P., Prabhu, R., Sukadri, D., Purnomo, H. and Hartanto, H., 1999, Guidelines for Applying Muti-Criteria Analysis to the Assessment of Criteria and Indicators, Center for International Forestry Research (CIFOR), Inc., Indonesia.
[9] Gabre, R.M., Adham, F.K. and Chi, H., 2005, Life table of Chrysomya megacephala (Fabricius) (Diptera: Calliphoridae), Acta Oecologica 27: 179-183.
[10] จักรวาล ชมภูศรี, 2544, แมลงวัน (Files), น. 43-59, ใน อุษาวดี ถาวระ (บรรณาธิการ), ชีววิทยาและการควบคุมแมลงที่เป็นปัญหาสาธารณสุข, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.