สมรรถนะการรวมตัวในลักษณะผลผลิตฝักสดของข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ที่ปรับตัวได้ดีในจังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดพะเยา โดยคัดเลือกสายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีจำนวน 8 สายพันธุ์ ผสมแบบพบกันหมด และได้สายพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเบื้องต้นจำนวน 28 คู่ผสม ปลูกทดสอบผลผลิตในฤดูแล้งปี พ.ศ. 2559 ที่แปลงเกษตรกรในจังหวัดพะเยา พบว่ามีวันสลัดละอองเกสรและวันออกไหมระหว่าง 64-72 และ 65-73 วัน ตามลำดับ โดยคู่ผสมที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกและหลังการปอกเปลือกสูงสุด คือ UPW 1 x 4 และ UPW 2 x 8 เท่ากับ 1,690 และ 1,209 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ขณะที่ความยาวฝัก ความยาวการติดเมล็ด และความกว้างฝักของทุกคู่ผสมเฉลี่ยเท่ากับ 14.93, 11.43 และ 4.21 เซนติเมตร ตามลำดับ ด้านเปอร์เซ็นต์การปอกเปลือกพบว่าคู่ผสม UPW 6 x 7 ให้ค่าสูงสุดเท่ากับ 75.3 % ส่วนเปอร์เซ็นต์การตัดฝานพบว่าคู่ผสม UPW 7 x 8 ให้ค่าสูงสุดเท่ากับ 71.8 % ขณะที่สายพันธุ์แท้ UPW1 และ UPW8 ให้ค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปของผลผลิตทั้งเปลือก และปอกเปลือกดีที่สุด ตามลำดับ
คำสำคัญ : ข้าวโพดข้าวเหนียว; พันธุ์ลูกผสม; ภาคเหนือตอนบน
Article Details
References
[2] สุรณี ทองเหลือง, ยุพาพรรณ จุฑาทอง, สำราญ ศรีชมพร และธํารงศิลป โพธิสูง, 2550, รายงานผลการวิจัยประจำปี 2550 โครงการวิจัยรหัส 04108307 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียว, สถานีวิจัยพืชไร่ สุวรรณวาจกกสิกิจและศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครราช สีมา.
[3] Griffing, B., 1956, Concept of general and specific combining ability in relation to diallel crossing system, Aust. J. Biol. 9: 463-493.
[4] R Development Core Team 2010, R: A language and environment for statistical computing (ISBN 3-900051-07-0) R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria, Available Source: http://www.R-project.org/, October 28, 2010.
[5] กฤษฎา สัมพันธารักษ์, 2546, ปรับปรุงพันธุ์ : ความหลากหลายของแนวคิด, ภาควิชาพืชไร่นา, คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[6] ประภา กัณฐศากุล, สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ และจินดา จันทร์อ่อน, 2535, ส่วนประกอบบางอย่างของข้าวโพดฝักสด, น. 1-3, เอกสารประกอบการสัมนาข้าวโพดหวาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, เชียงใหม่.
[7] บุญฤทธิ์ สินค้างาม และภาวินี จันทร์วิจิตร, 2557, การพัฒนาสายพันธุ์และการทดสอบพันธุ์ลูกผสมข้าวโพดข้าวเหนียวเบื้องต้นที่มีศักยภาพผลผลิตสูงในจังหวัดพะเยาโดยวิธีสายพันธุ์ผสมกับตัวทดสอบ, ว.มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2: 85-93.
[8] สุรศักดิ์ ปิดความลับ และบุญฤทธิ์ สินค้างาม, 2557, การพัฒนาสายพันธุ์แท้ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งเชื้อพันธุกรรมในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม, แก่นเกษตร 42(พิเศษ 1): 76-81.