สูตรที่เหมาะสมของการผลิตแก่นตะวันดองและกิมจิจากแก่นตะวัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปริมาณน้ำตาลที่ต่างกันต่อคุณภาพของแก่นตะวันดองและศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผักกาดขาวและแก่นตะวันต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กิมจิ วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและและการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค พบว่าค่าการสูญเสียน้ำหนักของแก่นตะวันแปรผันตรงกับปริมาณน้ำตาล ส่วนค่าความแข็งและค่าความสว่างของแก่นตะวันแปรผกผันกับปริมาณน้ำตาล ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในการผลิตแก่นตะวันดอง คือ 40 กรัม ต่อหัวแก่นตะวันสดน้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งมีคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสด้านความชอบรวมสูงสุดในผลิตภัณฑ์กิมจิ ค่าความเป็นกรดด่างและค่าความแข็งของกิมจิแปรผันตรงกับปริมาณแก่นตะวัน ส่วนค่าการสูญเสียน้ำหนักและค่าความสว่างแปรผกผันกับปริมาณแก่นตะวัน อัตราที่เหมาะสมของผักกาดขาวต่อแก่นตะวันในการผลิตกิมจิ คือ ร้อยละ 75 : 25 ซึ่งเป็นสูตรที่มีคะแนนเฉลี่ยด้านความชอบรวมสูงสุด เมื่อพิจารณาคะแนนความชอบพบว่าผู้บริโภคให้คะแนนความชอบรวมต่อผลิตภัณฑ์แก่นตะวันดองและกิมจิจากแก่นตะวันที่ใช้แก่นตะวันปอกเปลือกมากกว่าแก่นตะวันไม่ปอกเปลือก การแปรรูปแก่นตะวันให้อยู่ในรูปแก่นตะวันดองและกิมจิจะช่วยส่งเสริมให้มีการบริโภคแพร่หลายขึ้น ทั้งยังตอบสนองต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
Article Details
References
Pewsa-ard, J. and Seephaya, C., Jerusalem artichoke, Available Source: https://www.dss.go.th/images/st-article/sti-2-2558-SunChoke.pdf, November 25, 2018. (in Thai)
Puakrai, M., Puthorm, S., Techawongsatien, S. and Jogloy, S., 2013, Effects of temperature and packaging ventilation on quality of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) tuber, Khon Kaen Agric. J. 41(1)(Suppl.): 597-601. (in Thai)
Malai, D., Chaichawalit, C., Janphen, S. and Mailaead, S., 2013, Development of fresh noodles by substitution of Jerusalem artichoke powder, Agric. Sci. J. 22(2)(Suppl.): 269-272. (in Thai)
Tanjor, S., Judprasong, K., Chaito, C. and Jogloy, S. 2012, Inulin and fructooligo sacharides in different varieties of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.), KKU Res. J. 17(1): 25-34. (in Thai)
Suphamityotin, P., 2013, Fruit and Vegetable Technology, Bangkok, Odeon Store, 280 p. (in Thai)
Puttha, R., Jogloy, S., Wangsomnuk, P.P., Srijaranai, S., Kesmala, T. and Patanothai, A., 2012, Genotypic variability and genotype by environment interactions for inulin content of Jerusalem artichoke germplasm, Euphytica 183: 119-131.
Duncan, D.B., 1995, Multiple range and multiple F-tests, Biometrics 11: 1-42.
Khamchu, W. and Yuenyongputtakal, W., 2007, Effect of sucrose and NaCl on mass transfer during osmotic treatment of muskmelon (Cucumis melo L.), Agric. Sci. J. 38(6)(Suppl.): 91-94. (in Thai)
Yuenyongputtakal, W., 2013, Factors influencing on dewatering by osmotic dehydration of fruits and vegetables, Burapha Sci. 18(1): 226-233. (in Thai)
Rattanapanone, N., 2014, Food Chemistry, Bangkok, Odeon Store, 504 p. (in Thai)
Pornchaloempong, P. and Rattanapanone, N., Pickle, Available Source: https://www.foodnetworksolution.com, November 25, 2018. (in Thai)
Neeha, V.S. and Kakade, S.B., 2014, Use of hurdle technology in food preservation, Int. J. Eng. Man. Res. 4(5): 204-212
Ziyan, E. and Pekyardimci, S., 2003, Charac terization of polyphenol oxidase from Jerusalem Artichoke (Helianthus tuberosus). Turk. J. Chem. 27: 217-225.