การเพิ่มคุณค่าทางโภชนะของรำละเอียด เพื่อเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องด้วยยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์

Main Article Content

วนิดา เบี้ยทอง
ดรุณี ศรีชนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะของรำละเอียดที่หมักร่วมกับยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ที่ระดับ 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาในการหมัก 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าการหมักรำละเอียดด้วยยีสต์ที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 0-4 สัปดาห์ ทำให้รำละเอียดมีโปรตีนสูงที่สุด คือ 22.99-23.57 เปอร์เซ็นต์ (p < 0.05) และการหมักรำละเอียดด้วยยีสต์ที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ (0 สัปดาห์) ทำให้รำละเอียดมีปริมาณวัตถุแห้งต่ำที่สุด คือ 40.84 เปอร์เซ็นต์ (p < 0.05) ขณะที่การหมักรำละเอียดด้วยยีสต์ที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่งผลให้ NDF มีค่าต่ำที่สุด คือ 20.40 เปอร์เซ็นต์ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ารำละเอียดที่ไม่มีการหมักยีสต์ที่ระยะเวลาต่าง ๆ มีค่าไขมันสูงที่สุด คือ 16.11-16.96 เปอร์เซ็นต์ (p < 0.05) สำหรับค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองด้วยของเหลวจากกระเพาะรูเมนพบว่าการใช้ยีสต์ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาหมัก 4 สัปดาห์ ทำให้รำละเอียดมีค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งสูงที่สุด คือ 73.85 เปอร์เซ็นต์ (p < 0.05) การศึกษานี้จึงสรุปว่าการใช้ยีสต์ที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ หมักระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทำให้รำละเอียดมีค่าโภชนะและการย่อยได้ของวัตถุแห้งในกระเพาะรูเมนเพิ่มขึ้นสูงที่สุด

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

วนิดา เบี้ยทอง, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ดรุณี ศรีชนะ

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

Office of Agricultural Economics, 2016, The Situation of Major Agricultural Products and Trends in 2017, Ministry of Agriculture and Cooperatives, 215 p. (in Thai)

Krochta, J.M., Baldwin, E.A. and Nisperos-Carriedo, M.O., 1994, Edible Coating and Film Improve Food Quality, Technomic Publishing Company, Inc., Pennsylvania, 379 p.

White, T.W. and Hembry, F.G., 1985, Rice by-products in ruminant rations, Louisiana Agricultural Experiment Station, Baton Rouge, 18 p.

Pluemklang, A., 2011, Comparative Study on Production Performance of Dairy Cattle Fed Diets Containing Different Processed Rice Bran, Master Thesis, Kasetsart University, Bangkok, 87 p. (in Thai)

Kaewwongsa, W., 2011, Utilization of Fermented Cassava Pulp by Yeast (Saccharomyces cerevisiae) as a Protein Source for Meat Goats, Master Thesis, Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima, 126 p. (in Thai)

Chanjula, P. and Pengnoo, A., 2011, Protein-Enriched Palm Kernel Cake by Yeast Fermented Process for Ruminant Feeds, Research Report, Prince of Songkla University, Songkla, 39 p. (in Thai)

Khampa, S., Koatdoke, U. and Itharat, S., 2010, Study on Enriches Value of Cassava Hay as Protein Source Replace Soybean Meal in Concentrate Containing High Level of Cassava Chip on Rumen Fermentation Protein Synthesis Efficiency in Cattle, Research Report, Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham, 102 p. (in Thai)

Kamphayae, S., Kumagai, H., Angthong, W., Narmseelee, R. and Bureenok, S., 2017, Effects of different ratios and storage periods of liquid brewer’s yeast mixed with cassava pulp on chemical composition, fermentation quality and in vitro ruminal fermentation, Asian-Australas. J. Anim. Sci. 30: 470-478.

AOAC, 1990, Official Method of Analysis, 15th Ed., Association of Official Analytical Chemists, Arlington, VA.

Goering, H.K. and van Soest, P.J., 1970, Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagents, Procedures and Some Applications), U.S. Government Printing Office, Washington DC., 24 p.

Srichana, D., Suttitham, W., Thongsunthiah, P., Panja, P. and Jariyapamornkoon, N., 2014, Nutrients and ruminal digestibility of baby corn by-product silages under different harvesting methods, Thammasat Int. J. Sci. Technol. 19: 30-36.

van Zyl, W.H., Lynd, L.R., den Haan, R. and McBride, JE., 2007, Consolidated bioprocessing for bioethanol production using Saccharomyces cerevisiae, Adv. Biochem. Eng. Biotechnol. 108: 205-235.

Raimbault, M., 1998, General and microbiological aspects of solid substrate fermentation, Elect. J. Biotechnol. 1998: ej98021, 15 p.

Boonnop, K., 2008, Study on Production Process and Utilization of Yeast Fermented Cassava Chip Protein (Yefecap) on Rumen Fermentation, Microbial Protein Synthesis, and Nutrient Digestibilities in Ruminants, Master Thesis, Khon Kaen University, Khon Kaen, 89 p. (in Thai)