ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดหยาบจากผลมะเดื่ออุทุมพรด้วยเอทานอล

Main Article Content

เบญจมาศ คุชนี
อัจฉรา พรมลารักษ์
ชญาณ์พิมพ์ บุญชู
ธนาวุธ เขาดี
บุญญวัฒน์ บุญระดม
วณิชชกร สิงห์บรรณ
อชิดา จารุโชติกมล
ปวิตรา พูลบุตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของระบบเมแทบอลิซึม ซึ่งนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ ไต จอประสาทตา หัวใจ เป็นต้น โดยมักสัมพันธ์กับการสร้างสารอนุมูลอิสระมากขึ้น การยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตในระบบทางเดินอาหาร เช่น เอนไซม์แอลฟาอะไมเลส เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรตและลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดหยาบจากผลมะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa Linn.) ด้วยเอทานอล โดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสใช้วิธีการวิเคราะห์น้ำตาลรีดิวซ์ (DNS method) ส่วนการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระใช้วิธี DPPH, ABTS และวิเคราะห์ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของสารต้านอนุมูลอิสระใช้วิธี FRAP ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดหยาบมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 84.02±3.17 (ที่ความเข้มข้น 20 µg/mL) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 7.44±0.23 µg/mL และยังพบว่าสารสกัดหยาบมีศักยภาพในการต้านออกซิเดชัน ผลการทดสอบด้วยวิธี DPPH มีค่า IC50 เท่ากับ 128.84±52.89 µg/mL และวิธี ABTS มีค่า IC50 เท่ากับ 30.21±2.42 µg/mL ส่วนการทดสอบด้วยวิธี FRAP มีค่า FRAP value เท่ากับ 0.58±0.03 mM Fe2+/mg ของสารสกัดหยาบ สรุปได้ว่าสารสกัดหยาบจากผลมะเดื่ออุทุมพรมีฤทธิ์ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและต้านออกซิเดชัน อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องศึกษาสารพฤกษเคมีที่สำคัญของสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ดังกล่าว และศึกษาในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันสมบัติของสารสกัดหยาบของผลมะเดื่ออุทุมพรในการบำบัดโรคเบาหวาน 


คำสำคัญ : ผลมะเดื่ออุทุมพร; เอนไซม์แอลฟาอะไมเลส; สารต้านอนุมูลอิสระ

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

เบญจมาศ คุชนี

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

อัจฉรา พรมลารักษ์

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

ชญาณ์พิมพ์ บุญชู

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

ธนาวุธ เขาดี

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

บุญญวัฒน์ บุญระดม

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

วณิชชกร สิงห์บรรณ

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

อชิดา จารุโชติกมล

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

ปวิตรา พูลบุตร

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

References

[1] Kennedy, M. and Masharani, U., 2015, Pancreatic Hormones and Antidiabetic Drugs, In Katzung, B.G., Trevor, A.J. (Eds.), Basic and Clinical Pharmacology, McGraw-Hill, New York.
[2] Ullah, A., Khan, A. and Khan, I., 2016, Diabetes mellitus and oxidative stress: A concise review, Saudi. Pharm. J. 24: 547-553.
[3] Giacco, F. and Brownlee, M., 2010, Oxidative stress and diabetic complica tions, Circ. Res. 107: 1058-1070.
[4] Standl, E. and Schnell, O., 2012, Alpha-glucosidase inhibitors 2012 – cardiovas cular considerations and trial evaluation, Diab. Vasc. Dis. Res. 9: 163-169.
[5] Kim, K., Rioux, L. and Turgeon, S.L., 2014, Alpha-amylase and alpha-glucosidase inhibition is differentially modulated by fucoidan obtained from Fucus vesiculosus and Ascophyllum nodosum, Phytochemis try 98: 27-33.
[6] Nutmakul, T., Pattanapanyasat, K., Soonthornchareonnon, N., Shiomi, K., Mori, M. and Prathanturarug, S., 2016, Anti plasmodial activities of a Thai traditional antipyretic formulation, Bencha-Loga-Wichian: A comparative study between the roots and their substitutes, the stems, J. Ethnopharmacol. 193: 125-132.
[7] คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาจากสมุนไพร แนบท้ายประกาศบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 86 ง., หน้า 11 , ลงวันที่ 12 เมษายน 2559.
[8] Veerapur, V.P., Prabhakar, K.R., Thippeswamy, B.S., Bansal, P., Srinivasan, K.K. and Unnikrishnan, M.K., 2012, Antidiabetic effect of Ficus racemosa Linn. stem bark in high-fat diet and low-dose streptozotocin-induced type 2 diabetic rats: A mechanistic study, Food Chem. 132: 186-193.
[9] Jain, R., Rawat, S. and Jain, S.C., 2013, Phytochemicals and antioxidant evalua tion of Ficus racemosa root bark, J. Pharm. Res. 6: 615-619.
[10] Joseph, B. and Raj, S.J., 2010, Phyto pharmacological and phytochemical properties of three Ficus species – an overview, Int. J. Pharma. Bio. Sci. 1: 246-253.
[11] ภัทรา พวงช่อ, นาฏศจี นวลแก้ว, 2556, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดพื้นบ้าน, ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 9(1): 218.
[12] Ali, H. and Houghton, P.J., 2006, Soumyanath A. -Amylase inhibitory activity of some Malaysian plants used to treat diabetes, with particular reference to Phyllanthus amarus, J. Ethnopharmacol. 107: 449-455.
[13] Blois, M.S., 1958, Antioxidant determina tions by the use of a stable free radical, Nature 4617: 1199-1200.
[14] Re, R., Pellegrini, N., Proteggente, A., Pannala, A., Yang, M. and Rice-Evans, C., 1999, Antioxidant activity applying an improved ABTS radical cation decolorization assay, Free Radic. Biol. Med. 26: 1231-1237.
[15] Benzie, F.F. and Strain, J.J., 1996, The ferric reducing ability of plasma (FRAP) as a measure of: “Antioxidant Power”: The FRAP assay, Anal. Biochem. 239: 70-76.
[16] Hasan, N., Shirin, F., Khan, A.J., Mamun, A., Belal, H., Hasan, M., Islam, A., Tasnin, N., Karim, R.U., Asaduzzaman, Islam, D., Ara, T., Rahman, K.Z., Rahman, M. and Islam, M.A., 2017, Hypoglycemic, Hypolipidemic and Antibacterial Activity of Ficus racemosa Fruit Extract, Br. J. Pharm. Res. 16(1): 1-9.
[17] Zulfiker, A.H.M., Saha, M.R., Sarwar, S., Nahar, L., Hamid, K. and Rana, M.S., 2011, Hypoglycemic and in vitro antioxidant activity of ethanolic extracts of Ficus racemose Linn. Fruits, Am. J. Sci. Ind. Res. 2, 391-400.
[18] Amin, M., Bhakta, S. and Das, S.K., 2015, Anti-diabetic potential of Ficus racemosa: Current state and prospect especially in the developing countries, J. Biosci. Agric. Res. 5: 65-72.
[19] Deepa, P., Sowndhararajan, K., Kim, S. and Park, S.J., 2018, A role of Ficus species in the management of diabetes mellitus: A review, J. Ethnopharmacol. 215: 210-232.
[20] Rathinavelusamy, P., Mazumder, P.M., Sasmal, D. and Jayaprakash, V., 2014, Evaluation of in silico, in vitro -amylase inhibition potential and antidiabetic activity of Pterospermum acerifo lium bark, Pharm. Biol. 52: 199-207.
[21] Sumi, S.A., Siraj, A., Hossain, A., Mia, S., Afrin, S. and Rahman, M., 2016, Investigation of the key pharmacological activities of Ficus racemosa and analysis of its major bioactive polyphenols by HPLC-DAD, Evid. Based Complement. Alternat. Med. 2016: 1-9.
[22] Ramana, G., Reddya, C.S., Raob, CV., 2011, In-vitro and in-vivo anti-oxidant activity of Ficus racemosa Linn. fruit extract and Aegle marmelos root and leaf extracts, J. Pharm. Res. 4: 2078-2081.
[23] Veerapur, V.P., Prabhakar, K.R., Parihar, V.K., Kandadi, M.R., Ramakrishana, S., Mishra, B., Mishra, B., Satish Rao, B.S., Srinivasan, K.K., Priyadarsini, K.I. and Unnikrishnan, M.K., 2009, Ficus racemosa stem bark extract: A potent antioxidant and a probable natural radioprotector, Evid. Based Complement. Alternat. Med. 6: 317-324.
[24] Deshmukh, T.A., Yadav, B.V., Badole, S.L., Bodhankar, S.L. and Dhaneshwar, S.R., 2007, Antihyperglycaemic activity of petroleum ether extract of Ficus racemose fruits in alloxan induced diabetic mice, Pharmacol. Online 2: 504-515.