การประเมินสภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อมและปัจจัยส่วนบุคคลต่อความชุกของสัตว์และแมลงนำโรคในหอพักนักศึกษา

Main Article Content

ศิริอุมา เจาะจิตต์
พิมาน ธีระรัตนสุนทร
ขจีพรรณ บุญญานุวงศ์
ซอบารีย๊ะ เจ๊ะเลาะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อมหอพัก ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ความชุกของสัตว์และแมลงนำโรคในหอพักนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามี 263 คน ประกอบด้วยแม่บ้าน 23 คน และนักศึกษา 240 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินสภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อมและเก็บตัวอย่างวิเคราะห์ความชุกของแมลงและสัตว์นำโรค โดยวิธีมาตรฐานของกรมอนามัย ผลการสำรวจสภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อมในหอพักพบว่าปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อม 3 อันดับแรก คือ ขยะมูลฝอย สัตว์และแมลงนำโรค และน้ำดื่มน้ำใช้ ส่วนระดับความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคในหอพักนักศึกษา นักศึกษาและแม่บ้านมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 64.6 และ 52.2 ตามลำดับ ทัศนคติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในหอพักและการควบคุมกำจัดสัตว์แมลงนำโรคของนักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 84.6 ในขณะที่แม่บ้านอยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 78.3 พฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมหอพักและการควบคุมกำจัดสัตว์แมลงนำโรค ส่วนใหญ่ทั้งนักศึกษาและแม่บ้านมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 64.5 และ 56.5 ตามลำดับ จากการสำรวจความชุกของสัตว์และแมลงนำโรค พบว่ามีสัตว์และแมลงนำโรคที่เป็นปัญหาในหอพักนักศึกษา 2 ชนิด คือ หนูและยุง โดยหอพักที่พบความชุกของหนูที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 7.7 และพบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่มีความเสี่ยงสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 38.5 ของหอพักที่สำรวจ 


คำสำคัญ : หอพัก; สัตว์และแมลงนำโรค; ความชุก

Article Details

บท
Medical Sciences
Author Biographies

ศิริอุมา เจาะจิตต์

สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161

พิมาน ธีระรัตนสุนทร

สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161

ขจีพรรณ บุญญานุวงศ์

สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161

ซอบารีย๊ะ เจ๊ะเลาะ

สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161

References

[1] อำนาจ ชิดไธสง และบัณฑูร เศรษฐศิโรจน์, 2554, ชุดโครงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อประเทศไทย และชุดโครงการวิจัยการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม, สำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย, แหล่งที่มา : http://trf.or.th, 1 ธันวาคม 2558.
[2] ชำนาญ อภิวัฒนศร, 2555, Climate Change and Mosquito Vectors, แหล่งที่มา : http://www.tm.mahidol.ac.th, 23 พฤศจิกายน, 2558.
[3] กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อโดยแมลง, 2554, แผนยุทธศาสตร์โรคติดต่อนำโดยแมลงระดับชาติ ปี 2555-2559, แหล่งที่มา : http://www.thai vbd.org, 21 พฤศจิกายน 2558.
[4] สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย, 2554, คู่มือความรู้สู่ประชาชน อนามัยสิ่งแวดล้อมเตรียมพร้อมประชาชน, แหล่งที่มา : http://env.anamai.moph.go.th, 21 พฤศจิกายน 2558.
[5] ดวงใจ เนตระคเวสนะ, 2551, การเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ภาคปกติ) ต่อการใช้บริการหอพักมหาวิทยาลัยและหอพักเอกชน, แหล่งที่มา : http://mba.bus.rmutt.ac.th/mba, 23 พฤศจิกายน 2558.
[6] พัฒนา มูลพฤกษ์, 2541, อนามัยสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 2, หจก. เอ็น. เอส. แอล. พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ, 549 น.
[7] สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย, 2558, การควบคุมพาหะนำโรค แมลงวัน, แหล่งที่มา : http://env.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/env/ewt_dl_link.php?nid=939, 16 กรกฎาคม 2561.
[8] สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย, 2558, การควบคุมพาหะนำโรค แมลงสาบ, แหล่งที่มา : http://env.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/env/ewt_dl_link.php?nid=938, 16 กรกฎาคม 2561.
[9] สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย, 2558, การควบคุมพาหะนำโรค หนู, แหล่งที่มา : http://env.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/env/ewt_dl_link.php?nid=940, 16 กรกฎาคม 2561.
[10] สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค, 2556, ชีววิทยาและการควบคุมยุงลายสวน, แหล่งที่มา : http://www.thaivbd.org/n/uplo ads/file/file_PDF/คู่มือปฏิบัติงาน/ALL/Aede salbopictus.pdf, 16 กรกฎาคม 2561.
[11] วราลักษณ์ ตังคณะกุล, 2556, การควบคุมเลปโตสไปโรสิสไว้, ว.วิชาการสาธารณสุข 22(3): 526-537.
[12] สุวัชรีย์ เดชาธรอมร, 2544, ความรู้และทัศนคติของบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
[13] กนกวรรณ ขันเงิน และพิษนุ อภิสมาจารโยธิน, 2558, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ, ว.วิชาการเฉลิมกาญจนา 2(3): 128-133.
[14] ประพัฒน์ เป็นตามวา, ทักษิน จงประสม, นิสสา ชื่นชม และเบญจวรรณ พรมผล, 2555, การประเมินสภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อมในหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัย, ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5(1): 35-44.
[15] รุ่งฤทัย บุญเทศ และวรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์, 2557, การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของหอพักนักศึกษา, ว.วิจัย มข. 19(6): 916-926.
[16] พีรนาฏ คิดดี และอานุช แก้ววงศ์, 2550, ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา, 82 น.
[17] มณเฑียร รัตนตรัง, 2550, อิทธิพลของระยะห่างจากแหล่งอาหารและพฤติกรรมการป้องกันและการกำจัดหนูของครัวเรือนต่อจำนวนหนูที่ดักได้ในครัวเรือนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 104 น.
[18] จรวย สุวรรณบำรุง, จันทร์จุรีย์ ถือทอง และธิดารัตน์ เอกศิรินิมิตร, 2558, การมีส่วนร่วมของนักศึกษาในกิจกรรมเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : ต้นแบบการเฝ้าระวังเชิงรุกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของพื้นที่สถานศึกษา, ว.การพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 81-93.