การตรวจสอบคุณภาพอากาศในห้องเรียนบางห้องของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

ปมณฑ์ ภูมาศ

บทคัดย่อ

คุณภาพอากาศภายในอาคารส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชากรภายในอาคาร เนื่องจากโดยเฉลี่ยคนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในอาคารประมาณ 90 % ดังนั้นจึงมีความสำคัญในการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคารอยู่เสมอ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคารของห้องเรียนบางห้องในภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยติดตามปัจจัยทางกายภาพซึ่งประกอบไปด้วยอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ แสง และจำนวนคน ปัจจัยทางเคมีประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยทางชีวภาพ ประกอบด้วยแบคทีเรียและรา โดยใช้เครื่องดูดอากาศ MAS100 NT® (MERCK) เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า 09:00 น. และช่วงบ่าย 14:00 น. เก็บตัวอย่าง 2 วันต่อสัปดาห์ คือ วันจันทร์และพุธ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพอากาศของห้องเรียนมีหลายปัจจัยเกินค่ามาตรฐานในบางช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปริมาณแบคทีเรีย แต่ปริมาณความสว่างของห้องเรียนทั้ง 2 ห้อง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และคุณภาพอากาศที่มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกัน ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรีย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจำนวนคน ดังนั้นจึงควรหาวิธีในการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร เช่น การติดตั้งพัดลมดูดอากาศ การล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ รวมถึงควรมีการติดตามคุณภาพอากาศภายในอาคารในพื่นที่ที่มีการใช้งานอย่างหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biography

ปมณฑ์ ภูมาศ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

References

World Health Organization, 2006, WHO Air Quality Guidelines for Particulate Matter, Ozone, Nitrogen Dioxide and Sulfur Dioxide, WHO Press, Geneva, 20 p.

Ajavakom, N., Indoor Air Quality, Available Source: https://www.slideshare.net/ThitipornKlainil/1-7499580, July 23, 2019. (in Thai)

Katsakorn, A. and Phangchandha, R., 2015, Evaluation of indoor air quality conditions in classrooms, JPE 1: 238-247. (in Thai)

Supansomboon, S., 2017, The Study of Indoor Environmental Quality in Class rooms in Faculty of Architecture, Khon Kaen University Using Occupants’ Opinion, pp. 337-339, BTAC 2017, Khon Kaen University, Khon Kaen. (in Thai)

Lee, M.C., Mui, K.W., Wong, L.T., Chan, W.Y., Lee, E.W.M. and Cheung, C.T., 2012, Student learning performance and indoor environmental quality (IEQ) in air-conditioned university teaching rooms, Build. Environ. 49: 238-244.

Twardella, D., Matzen, W., Lahrz, T., Burghardt, R., Spegel, H., Hendrowarsito, L., Frenzel, A. and Fromme, H., 2012, Effect of classroom air quality on students’ concentration: results of a cluster–randomized cross–over experi mental study, Indoor Air 22: 378-387.

Feller, W., 1950, An Introduction to the Probability Theory and Its Application, John Wiley and sons, Inc., New York, 175 p.

Meier, R. and Zingre, H., 2000, Qualifica tion of air sampler systems: The MAS-100, Swiss Pharm. 22: 15-21.

Bureau of Environmental Health, 2016, Operating Manual for Indoor Air Quality Assessment for Staff, Department of Health, Ministry of Public Health, Nonthaburi, 95 p. (in Thai)

Jantarakot, S. and Chaiyakul, Y.,2017, Lighting for Classroom at Khon Kaen University, pp. 227-236, BTAC 2017, Khon Kaen University, Khon Kaen. (in Thai)

Oksanen, J., Blanchet, F.G., Friendly, M., Kindt, R., Legendre, P., McGlin, D., Minchin, P.R., O’hara, R.B., Simpson, G.L., Solymos, P. and Wagner, H., 2017, Vegan: Community Ecology Package, R Package Version 2.4-3, Available Source: https://cran.r-project. org/web/packages/vegan, July 23, 2019.

January, W., 2017, pca3d: Three Dimensional PCA Plots, R Package Version 0.10, Available Source: http://cran.nexr.com/web/packages/pca3d, July 23, 2019.

Johnson, D.L., Lynch, R.A., Floyd, E.L., Wang, J. and Bartels, J.N., 2018, Indoor air quality in classrooms: Environmental measures and effective ventilation rate modeling in urban elementary schools. Build. Environ, 136: 185-197.

Coley, D.A., Greeves, R. and Saxby, B.K., 2007, The effect of low ventilation rates on the cognitive function of a primary school class, Int. J. Vent. 6: 107-112.

Maier, R.M., Pepper, I.L. and Gerba, C.P., 2009, Environmental Microbiology, 2nd Ed., Academic Press, Boston, 624 p.