การเปรียบเทียบคะแนนของทักษะด้านต่าง ๆ ในการสอบประมวลความรอบรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

แพรวพรรณ แก้วเพ็ชร
อลิษา แคล้วเครือ
พิราวรรณ หนูเสน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนในการสอบ OSCE ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ทั้ง 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการซักประวัติ ทักษะการตรวจร่างกาย ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำหัตถการ และทักษะการแปลผล แล้วนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งพัฒนาทักษะทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556-2560 จำนวน 2,851 คน (นับซ้ำ นศ.พ. 1 คน สอบ 2 ครั้ง/ปีการศึกษา) โดยจัดการสอบปีการศึกษาละ 3 ครั้ง รวมทั้งหมด 15 ครั้ง ซึ่งใช้ analysis of variance (ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ Chi-square test ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่านักศึกษาแพทย์มีคะแนนสอบแต่ละทักษะต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยทักษะของการทำหัตถการ (M) สูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 65.33, S.D. = 9.84) และคะแนนเฉลี่ยทักษะการแปลผลการตรวจห้องปฏิบัติการ (L) น้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 57.43, S.D. = 10.06) ซึ่งคะแนนสอบแต่ละทักษะมีความสัมพันธ์กันในทางบวก โดยทักษะการทำหัตถการมีความสัมพันธ์กับทักษะการแปลผลการตรวจห้องปฏิบัติการมากที่สุด (r = 0.482) สรุปว่าคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาแพทย์อยู่ในเกณฑ์ผ่านทุกทักษะ ยกเว้นทักษะการแปลผลการตรวจห้องปฏิบัติการ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ผ่าน ดังนั้นสถาบันเห็นควรเน้นและฝึกนักศึกษาในเรื่องทักษะการแปลผลการตรวจห้องปฏิบัติการให้มากกว่ายิ่งขึ้น

Article Details

บท
Physical Sciences
Author Biographies

แพรวพรรณ แก้วเพ็ชร

ฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

อลิษา แคล้วเครือ

ฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

พิราวรรณ หนูเสน

ฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

References

Harden, R.M., Stevenson, M., Downie, W.W. and Wilson, G.M., 1975, Assessment of clinical competence using objective structured examination, Br. Med. J. 1: 447-451.

Phinchu, P., 2016, The comparative analysis of the clinical and procedural skills examination scores from the medical competency assessment of Siriraj medical students, Siriraj Med. Bull. 9(2): 69-74. (in Thai)

Chesser, A.M., Laing, M.R., Miedzybrodzka, Z.H., Brittenden, J. and Heys, S.D., 2004, Factor analysis can be a useful standard setting tool in a high stakes OSCE assessment, Med. Educ. 38: 825-831.

Lohapaiboonkul, N. and Palakarn, B., 2014, The Effects of an Objective Structured Clinical Examinations (OSCEs) Test to Evaluate the Knowledge and Clinical Skills in Basic Medical Treatment and Perceive of Preceptors from Community of the Clinical Skills of Nursing Students, Nurs. J. Minist. Public Health 28(3): 63-75. (in Thai)

Praboromarajchanok Institute of Heath Workforce Development, 2013, Performance Assessment of Clinical Practice by Obstructive Structured Clinical Examination (OSCE), Yutharin Printing, Nonthaburi. (in Thai)

Cherdsak, I., Objective Structured Clinical Examination, Available Source: http://teachingresources.psu.ac.th/document/2548/Ai_Rommani_Rat/2.pdf, June 26, 2562. (in Thai)