ผลของแคลเซียมออกไซด์ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผักลิ้นห่าน

Main Article Content

ชัยภูมิ สุขสำราญ
สันติ สมัครกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของแคลเซียมออกไซด์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผักลิ้นห่าน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) ใช้ 1 กระถาง/ซ้ำ มี 15 ซ้ำ โดยปลูกผักลิ้นห่านลงในวัสดุปลูกทรายทะเล : ขุยมะพร้าว : ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตราส่วน 1 : 1 : 1 และพ่นแคลเซียมออกไซด์ ที่ระดับความเข้มข้น 0, 100, 300, 500 และ 1,000 mg/L ผลการศึกษาพบว่าผักลิ้นห่านที่พ่นแคลเซียมออกไซด์ ที่ระดับความเข้มข้น 300 mg/L ส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักลิ้นห่านได้ดีที่สุดในด้านจำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวไหล จำนวนต้นไหล และน้ำหนักสดต้น รวมทั้งมีคุณภาพทางประสาทสัมผัสที่ดีในด้านความกรอบ ความเขียวของใบ และกลิ่นเหม็นเขียว ซึ่งพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับผักลิ้นห่านที่ไม่พ่นแคลเซียมออกไซด์ (control) ขณะที่ความขมพบว่ามีระดับความขมเท่ากันเมื่อเปรียบเทียบกับผักลิ้นห่านที่ปลูกใกล้ชายฝั่งทะเล และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับผักลิ้นห่านที่ไม่พ่นแคลเซียมออกไซด์ (control)

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

ชัยภูมิ สุขสำราญ

หลักสูตรการจัดการพืชสวนและภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

สันติ สมัครกิจ

หลักสูตรการจัดการพืชสวนและภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

References

Praphasanobol, W. and Kaewsrasan, S., 2012, Antioxidant activity and total phenolics of Launaea sarmentosa leaves crude extracts, Sci. J. Phetchaburi Rajaphat Univ. 9(1): 12-19. (in Thai)

Deewiset, K., 2012, Local Vegetables of Southern, Institute of Thai Traditional Medicine, Department of Medical Services, Ministry of Public Health, Bangkok, 280 p. (in Thai)

Suksamran, C., 2017, The Development of Linharn (Launaea sarmentosa) Production in Phuket Province, Research Report, Faculty of Agricultural Technology, Phuket Rajabhat University, Ratsada, Phuket, 80 p. (in Thai)

Meesang, W., 2014, Effect of Sea Salt Concentration to Decrease of Solar Radiation to Productivity of Plants at Phetchaburi Province, Doctoral Disserta tion, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Faculty of Agricultural Technology, Phuket Rajabhat University, 2012, Analysis of Soil, Water and Plant Nutrition Samples, Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, Phuket Rajabhat University, Phuket. (in Thai)

Wongs-Aree, C., Jitareerat, P. and Uthairatanakij, A., 2004, Effects of treatment of calcium chloride solution on shelf life of fresh-cut Cantaloupe, The 4th National Horticultural Congress, Jb Hatyai Hotel, Songkhla, 196 p. (in Thai)

Kobkhangphlu, S., Chumpookam, J. and Chatbanyong, R., 2018, Effect of calcium oxide on vegetative growth of ‘Phuket’ Pineapple [Ananas comosus (L.) Merr.], Thai J. Sci. Technol. 7(6): 592-599. (in Thai)

Kasemsap, S., 1981, Flowering Pot Plant, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai language)

Department of Soil Science, 2017, Report Analysis of Organic Materials, Department of Soil Science, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Nakhon Pathom. (in Thai)

Duangpatra, P., 2013, Soil Conditioners, Department of Soil Science, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Herbagreen, Herbagreen Foliar Plant Nutrient, Available Source: http://www. herbagreen.asia/web, October 12, 2019.

Wongs-Aree, C., 2018, Use of calcium for quality fruit during postharvest period, Postharv. Newslett. 17(4): 5-7. (in Thai)