อิทธิพลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อองค์ประกอบผลผลิตและสารฟีนอลิกรวมในถั่วลิสง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันผู้คนหันมาใส่ใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะผลิตถั่วลิสงเพื่อเป็นอาหารสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของชนิดปุ๋ยต่อการให้ผลผลิตและสารประกอบฟีนอลิกรวมในถั่วลิสง วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design จำนวน 3 ซ้ำ กำหนดให้ทรีตเม้นต์ คือ การใส่ปุ๋ย 6 ชนิด ได้แก่ (1) ไม่ใส่ปุ๋ย (2) ใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (3) ใส่ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ (4) ใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือนอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ (5) ใส่ปุ๋ยมูลวัวหมักอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และ (6) ใส่ปุ๋ยมูลค้างคาวหมักอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เก็บข้อมูลน้ำหนักต้นแห้ง น้ำหนักใบแห้ง จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก ผลผลิตเมล็ดต่อต้น น้ำหนัก 100 เมล็ด เปอร์เซ็นต์กะเทาะ ดัชนีเก็บเกี่ยวและสารประกอบฟีนอลิกรวม ผลการทดลองพบว่าชนิดปุ๋ยมีผลต่อจำนวนฝักต่อต้น น้ำหนักฝักสด น้ำหนักฝักแห้ง ผลผลิตต่อต้น น้ำหนัก 100 เมล็ด และดัชนีเก็บเกี่ยว โดยการใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวหมักทำให้น้ำหนักฝักแห้ง ผลผลิตต่อต้น และน้ำหนัก 100 เมล็ดสูงที่สุด ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ถั่วลิสงมีดัชนีเก็บเกี่ยวสูงที่สุด นอกจากนี้พบว่าชนิดปุ๋ยไม่มีผลต่อต่อปริมาณสารฟีนอลิกรวมในเมล็ดถั่วลิสง แต่มีแนวโน้มว่าการใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวหมักทำให้สารฟีนอลิกในเมล็ดสูงที่สุด รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยเคมี และการไม่ใส่ปุ๋ย ตามลำดับ งานทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าปุ๋ยมูลค้างคาวหมักสามารถช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตในถั่วลิสง อีกทั้งมีแนวโน้มว่าจะสามารถช่วยเพิ่มสารฟีนอลิกในเมล็ดได้
Article Details
References
[2] Chen, C.Y.O. and Blumberg, J.B., 2008, Phytochemical composition of nuts, Asia Pac. J. Clin. Nutr. 17: 329-332.
[3] Kayanngan, P., Jogloy, S. and Jongrungklang, N., 2559, Physiological response and yield of peanut cultivars to organic fertilizer, J. Sci. Technol. MSU. 35: 393-404. (in Thai)
[4] Ratneetoo, B., 2552, Organic fertilizer improves deteriorated soil, Princess of Naradhiwas Univ. J. 1: 1-16. (in Thai)
[5] Lin, XJ., Wang, F., Cai, H.S., Lin, R.B., He, C.M., Li Q.H. and Li, Y., 2010, Effects of different organic fertilizers on soil microbial biomass and peanut yield, 19th World Congress of Soil Science: Soil Solutions for a Changing World, Brisbane.
[6] Taokaenchan, N., Areesrisom, P., Suthon, W. and. Manoonya, W., 2561, Effect of organic fertilizers on growth and total phenolic content of Artermisia lactiflora, Agric. Sci. J. 49: 132-138. (in Thai)
[7] Sereme, A., Dabire, C., Koala, M., Somda M.K. and Traore, A.S., 2016, Influence of organic and mineral fertilizers on the antioxidants and total phenolic compounds level in tomato (solanum lycopersicum) var. mongal F1, J. Exp. Bio. Agric. Sci. 4: 414-420.
[8] El-Moniem, A., Naguib, M., El-Baz, F.K., Salama, Z.A., Hanaa, H.A.E.B., Ali, H.F. and Gaafar, A.A., 2012, Enhancement of phenolics, flavonoids and glucosinolates of Broccoli (Brassica olaracea, var. Italica) as antioxidants in response to organic and bio-organic fertilizers, J. Saudi Soc. Agric. Sci. 11: 135-142.
[9] Ibrahim M.H., Jaafar H.Z., Rahmat A. and Rahman Z.A., 2011, Effects of nitrogen fertilization on synthesis of primary and secondary metabolites in three varieties of Kacip Fatimah (Labisia pumila Blume), Int. J. Mol. Sci. 12: 52-54.
[10] Yen, G.C. and Duh, P.D., 1995, Antioxidant activity of methanolic extracts of peanut hulls from various cultivars, J. Am. Oil Chem. Soc. 72: 1065-1067.
[11] Torres, A.M., Mau-Lastovicka, T. and Rezaaiyan, R., 1987, Total phenolics and high-performance liquid chromatography of phenolic acids of avocado, J. Agric. Food Chem. 35: 921-925.
[12] Puttha, R., 2559, Effect of manure types on growth, quantitative and quality of tubers of Kaentawan (Helianthus tuberosus L.), Songklanakarin J. Plant Sci. 3: 24-29. (in Thai)
[13] Li, J., Zhu, Z. and Gerendas, J., 2008, Effects of nitrogen and sulfur on total phenolics and antioxidant activity in two genotypes of leaf mustard, J. Plant Nutr. 31: 1642-1655.