การตัดสินใจใช้แตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติในการป้องกัน และกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

คริษฐา สุนทรีรัตน์
พนามาศ ตรีวรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรและความรู้เกี่ยวกับหนอนหัวดำมะพร้าวและแตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติ และ 3) การตัดสินใจใช้แตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติในการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครที่ใช้แตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติในการป้องกัน และกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว จำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตำสุด ค่าสูงสุด และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.7 มีอายุเฉลี่ย 59.0 ปีจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 65.0 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานเกษตรใน ครัวเรือนเฉลี่ย 2 คนมีประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 16.1 ปี มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 14.2 ไร่ เกษตรกรมีประสบการณ์ในการใช้แตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติเฉลี่ย 3.6 ปี และเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ร้อยละ 86.7 2) เกษตรกรทั้งหมดเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่รัฐ จากการเข้ารับการฝึกอบรม ร้อยละ 96.7 จากโทรทัศน์ ร้อยละ 60.0 และจากแอพพลิเคชั่นไลน์ ร้อยละ 44.2 และเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับหนอนหัวดำมะพร้าวและแตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติอยู่ในระดับมาก โดยได้คะแนนเฉลี่ย 17.3 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และ 3) เกษตรกรตัดสินใจใช้แตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติในการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว 4 ขั้นตอน โดยเกษตรกรมีการวิเคราะห์ปัญหา ร้อยละ 90.8 มีการพิจารณาค้นหาทางเลือก ร้อยละ 70.0 มีการวิเคราะห์ทางเลือก ร้อยละ 100.0 และมีการตัดสินใจเลือกทางเลือก ร้อยละ 90.8 ดังนั้น เพื่อการส่งเสริมการใช้แตนเบียน Bracon hebetor ศัตรูธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ควรมีการถ่ายทอดความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวให้กับเกษตรกร โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม การประชุม การศึกษาดูงาน เพื่อทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และเกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย