สภาพปัญหาการผลิตข้าว กข43 ของเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ อำเภอเมือง และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

วรรณพรรณ จันลาภา
พนามาศ ตรีวรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านบุคคล และด้านเศรษฐกิจ 2) การเปิดรับ ข่าวสารเกี่ยวกับข้าว กข43 3) ความรู้เกี่ยวกับ ข้าว กข43 และ 4) สภาพปัญหาการผลิตข้าว กข43 ของเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ อำเภอเมือง และ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 97 คน เก็บรวบรวม ข้อมูลเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2562 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.6 มีอายุเฉลี่ย 54.24 ปี จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 71.2 มีประสบการณ์ในการปลูก ข้าวเฉลี่ย 24.72 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4 คน มีแรงงานในการผลิตข้าวเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ปลูกข้าว กข43 เฉลี่ย 13.86 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 580.87 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้จากการขายข้าวเฉลี่ย 5,338.02 บาทต่อไร่ มีต้นทุนในการผลิตข้าวเฉลี่ย 2,879 บาท ต่อไร่ ใช้เงินทุนของตัวเองในการผลิตข้าว ร้อยละ 83.5 และใช้แหล่งน้ำจากคลองชลประทาน ร้อยละ 90.7 เกษตรกรส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับข้าว กข43 จากเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าว ร้อยละ 88.7 เกษตรตำบล ร้อยละ 72.2 และโทรทัศน์ ร้อยละ 70.1 เกษตรกร มีความรู้เกี่ยวกับข้าว กข43 ในระดับมาก ร้อยละ 75.3 แม้ว่าเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับข้าว กข43 ในระดับ มาก แต่เกษตรกรยังไม่เข้าใจในประเด็นสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อผลผลิต ดังนั้น เจ้าหน้าที่ควรสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรในประเด็นสำคัญเหล่านี้ สำหรับสภาพปัญหาการผลิตข้าว กข43 ของเกษตรกร โดยเรียงลำดับจากระดับปัญหามากไปน้อย ดังนี้ (1) ปัญหาด้านการตลาด (2) ปัญหาด้านตัวเกษตรกร (3) ปัญหาด้านมาตรฐานการผลิต (4) ปัญหาด้านการ ผลิต และ (5) ปัญหาด้านกายภาพ ดังนั้น ภาครัฐ ควรมีการเชื่อมโยงการตลาด จัดหาตลาดรับซื้อผลผลิต ที่แน่นอนและกำหนดราคาที่ชัดเจนก่อนดำเนิน โครงการ รวมทั้งส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกร ด้านการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ส่วนปัญหาด้าน ตัวเกษตรกรและปัญหาด้านมาตรฐานการผลิต ผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องควรจัดทำคู่มือการจดบันทึกที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ ควรพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรัโทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวกในการจดบันทึกข้อมูลและง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย