การตอบสนองของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต่อผลิตภัณฑ์ผึ้ง ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีในชุดดินอุบล และร้อยเอ็ด

Main Article Content

กร สุขเกษม
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม

บทคัดย่อ

ดำเนินทดลองภาคสนาม จำนวน 2 แปลง ในชุดดินอุบล และร้อยเอ็ด ในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อทดสอบการตอบสนองของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต่อการให้ผลิตภัณฑ์ผึ้ง (BP) ปุ๋ยคอกมูลโค (CM) อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด (GOF) อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมี (CF) อัตรา 8 : 8 : 4 กิโลกรัม N : P2O5 : K2O ต่อไร่ วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ตำรับการทดลองประกอบด้วย T1 : ควบคุม, T2 : CM, T3 : GOF, T4 : CM + BP, T5 : GOF + BP, T6 : BP, T7 : CF และ T8 : CF + BP ผลการศึกษา พบว่า ข้าวตอบสนองต่อการจัดการปุ๋ยและการฉีดผลิตภัณฑ์ผึ้งอย่างชัดเจน ทั้งทางด้านการเจริญเติบโต คุณภาพเมล็ดข้าว และการให้ผลผลิตในทั้งสองชุดดิน การใส่ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักอัตรา 8 : 8 : 4 กิโลกรัม N : P2O5 : K2O ต่อไร่ ทั้งที่มีการฉีด (T8) และไม่ฉีดผลิตภัณฑ์ผึ้ง (T7) ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือกสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 788 และ 731 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลลำดับ เมื่อปลูกในชุดดินอุบล ขณะที่การใส่ปุ๋ยเคมีอัตราดังกล่าวร่วมกับการฉีดผลิตภัณฑ์ผึ้งในชุดดินร้อยเอ็ด ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือกสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 756 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ย 3 ชนิดโดยไม่มีการฉีดผลิตภัณฑ์ผึ้ง การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8 : 8 : 4 กิโลกรัม N : P2O5 : K2O ต่อไร่ ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือกสูงสุด รองลงมา คือ ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ดอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยคอกมูลโคอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในทั้ง 2 ชุดดินโดยไม่มีการใส่ปุ๋ย การฉีดผลิตภัณฑ์ผึ้งทำให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือกสูงกว่าการไม่ฉีดในทั้ง 2 ชุดดิน

Article Details

บท
บทความวิจัย