ปริมาณธาตุอาหารพืชของข้าวพันธุ์ กข41, ปทุมธานี1 และขาวดอกมะลิ105

Main Article Content

ศรีสังวาลย์ ลายวิเศษกุล
สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์

บทคัดย่อ

ประเมินปริมาณธาตุอาหารพืชในข้าว กข41 ปทุมธานี1 และขาวดอกมะลิ105 ที่ 6 ระยะการเจริญเติบโต คือ ระยะต้นกล้า ระยะเริ่มแตกกอ ระยะแตกกอเต็มที่ ระยะออกดอก ระยะเก็บเกี่ยว และ ระยะเก็บเกี่ยวล่า พบว่า ความเข้มข้นของธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) และโบรอน (B) ในทุกส่วนมีระดับสูงกว่าในช่วงการเติบโตทางลำต้น แล้วลดลงเมื่อเข้าสู่การเติบโตทางสืบพันธุ์ ปริมาณธาตุอาหารในส่วนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเชิงเส้นตรงกับมวลแห้ง ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตการสร้างส่วนเหนือดินต้องการปริมาณ N และ K ที่สูง ขณะที่ต้องการปริมาณ P, Ca และ Mg เพิ่มขึ้นช้า ๆ สม่ำเสมอตลอดระยะการเจริญเติบโต ในช่วงการเติบโตทางสืบพันธุ์ต้องการ N มากกว่าธาตุอาหารหลักอื่น 3–5 เท่า ปริมาณธาตุอาหารรวมทั้งต้นข้าว 3 พันธุ์ มีรูปแบบคล้ายกันในระยะการเจริญทางลำต้น มีความเข้มข้น K (1.2–1.8%) และ N (0.9–1.8%) สูงสุด ระดับความเข้มข้นมีความแตกต่างในช่วงการเติบโตทางสืบพันธุ์ จากที่ขาวดอกมะลิ105 สร้างมวลต้นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการธาตุอาหารสูงกว่าไปถึงระยะเก็บเกี่ยว ในส่วนสืบพันธุ์ N มีความเข้มข้นสูงสุดใกล้เคียงกับที่อยู่ในส่วนของการเติบโตทางลำต้น ขณะที่ K มีความเข้มข้นลดลง (อยู่ที่ ¼) และธาตุอาหารอื่นมีในความเข้มข้นต่ำคำนวณจากปริมาณธาตุอาหารที่ปรากฏในข้าวอัตราส่วนปุ๋ยสำหรับ กข41 เท่ากับ 3.5 : 1 : 1.8 เหมือนกับปทุมธานี1 ที่ เท่ากับ 3.4 : 1 : 1.9 ส่วนขาวดอกมะลิ105 แตกต่างชัดเจน เท่ากับ 2.2 : 1 : 2.1 จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำสำหรับข้าว พบว่า N และ P เพียงพอในการชดเชยส่วนของข้าวเปลือกที่นำออกจากนา แต่แทบจะหรือไม่มีการใส่ K, Ca และ Mg ปริมาณธาตุอาหารที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอที่เติมลงในดินในแต่ละฤดูปลูกข้าวถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตข้าวของประเทศยกระดับขึ้นไม่ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย