การให้นน้ำบนกระบะมะพร้าวและซีเมนต์บล็อกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์โซเนีย ‘เอียสกุล’

Main Article Content

เจตนา ทองแย้ม
สุดสายสิน แก้วเรือง
พัชรียา บุญกอแก้ว

บทคัดย่อ

การผลิตกล้วยไม้และตัดดอกส่งออกของประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีมูลค่า 2,100 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2561 แต่วัสดุปลูกที่นิยมใช้ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ คือ กระบะมะพร้าว ซึ่งมักเกิดการผุพังได้ ต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 5 ปี อีกทั้งเกษตรกรบางรายยังคงให้น้ำในปริมาณสูงถึง 10 มิลลิเมตรต่อวัน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้ซีเมนต์บล็อกทดแทนกระบะมะพร้าว และวิเคราะห์ปริมาณการให้น้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ (ช่วงอายุ 18 เดือน) โดยศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัสดุปลูก 2 ชนิด คือ กระบะมะพร้าว และซีเมนต์บล็อก กับอัตราการให้น้ำ 3, 4, 5, 6 และ 10 มิลลิเมตรต่อวันเป็นเวลา 5 เดือน โดยใช้การปลูกในกระบะมะพร้าวที่อัตราการให้น้ำ 6 มิลลิเมตรต่อวัน เป็นชุดควบคุม จากการศึกษาพบว่า ลำลูกกล้วย จำนวนใบ ความหนาใบ และความยาวใบของกล้วยไม้ ที่ปลูกในกระบะมะพร้าว และซีเมนต์บล็อก ที่ให้น้ำในอัตราที่ต่างกันไม่ส่งผลให้มีความแตกต่างทางสถิติจากชุดควบคุม อย่างไรก็ตามความกว้างใบ จำนวนดอกรวม และดอกบาน ของการปลูกในกระบะมะพร้าวที่ให้น้ำ 3 มิลลิเมตรต่อวัน มีค่าลดลงจากชุดควบคุม ขณะที่การให้น้ำ 5 และ 10 มิลลิเมตรต่อวัน ที่ปลูกในซีเมนต์บล็อก ส่งผลให้ความกว้างใบ จำนวนดอกรวม และจำนวนดอกบาน ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม อย่างไรก็ตาม กล้วยไม้ที่ปลูกบนซีเมนต์บล็อก และให้น้ำ 6 มิลลิเมตรต่อวัน มีขนาดดอกใหญ่สุด และเป็นอัตราการให้น้ำที่แนะนำ ส่วนการปลูกบนกระบะมะพร้าวสามารถลดการให้น้ำให้ต่ำกว่าชุดควบคุมได้ โดยแนะนำที่อัตราการให้น้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ซึ่งให้ผลผลิตและคุณภาพของดอกกล้วยไม้ได้ดีเท่ากับชุดควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย