การผลิตมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกของเกษตรกร อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

มนัสวิน ตันวีนุกูล
ชลาธร จูเจริญ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และ สังคม 2) ความรู้ในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม 3) การผลิตมะพร้าวน้ำหอมตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อการส่งออก 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และความรู้ในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม ที่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และ 5) ปัญหาและอุปสรรค กลุ่มตัวอย่าง 335 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.45 ปี การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษามีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีประสบการณ์ในการปลูกเฉลี่ย 8.37 ปี รายได้เฉลี่ย 52,752.24 บาท/ไร่/ปี ต้นทุนเฉลี่ย 7,826.87 บาท/ไร่/ปี ทุนส่วนตัว มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 4 คน พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ย 9.97 ไร่ การเข้าฝึกอบรมเป็นการฝึกอบรมกับหน่วยงานของภาครัฐทั้งหมด ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผ่านช่องทางโทรศัพท์มากที่สุด เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตมะพร้าวน้ำหอมอยู่ในระดับมากที่ 20.46 คะแนน มีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก ค่าเฉลี่ย 103.05 คะแนน ในการผลิตมะพร้าวน้ำหอมพบปัญหาเรื่องโรคและแมลงมากที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาเรื่องแรงงาน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปลูก รายได้ ต้นทุนการผลิต จำนวนแรงงาน การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร การติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การเลือกพื้นที่มีความสัมพันธ์กับการผลิตมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย