อิทธิพลของการให้แสงเพิ่มต่อการเจริญเติบโต การสังเคราะห์ด้วยแสง และคุณภาพดอกของฟาแลนนอปซิสพันธุ์ Sogo Yukidian V3

Main Article Content

วิมลวรรณ ชอบสอาด
ดวงพร บุญชัย
พูนพิภพ เกษมทรัพย์
พัชรียา บุญกอแก้ว

บทคัดย่อ

การผลิตกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสเป็นไม้ดอกกระถางเพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศไทย เนื่องจากฟาแลนนอปซิสต้องการอุณหภูมิต่ำในการเจริญเติบโต การปลูกเลี้ยงจึงต้องอาศัยโรงเรือนระบบปิดควบคุมอุณหภูมิ ทำ ให้มีต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรจึงพัฒนาวิธีการปลูกเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยการเลี้ยงต้นในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น-ใบในโรงเรือนระบบกึ่งเปิดหลังคาพลาสติกและขึงด้วยตาข่ายพรางแสง ซึ่งทำให้ต้นฟาแลนนอปซิสได้รับความเข้มแสงไม่สม่ำเสมอ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้แสงเพิ่มต่อการเจริญเติบโต ค่าพารามิเตอร์การสังเคราะห์ด้วยแสง การออกดอก และคุณภาพช่อดอกของฟาแลนนอปซิสพันธุ์ Sogo Yukidian V3 อายุ 14 เดือนหลังออกจากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่ปลูกด้วยเปลือกสน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 5 ทรีตเมนต์ โดยการเพิ่มแสง LEDs สีขาวความเข้มแสง 100 และ 150 μmol m-2s-1 ในเวลา 04:00–08:00 น. และ 16:00–20:00 น. เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (แสงธรรมชาติเพียงอย่างเดียว) เป็นเวลา 4 เดือน พบว่า การให้แสงเพิ่มไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของใบ แต่ทำให้ช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 และการเปิดปิดปากใบในรอบวันเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม การเพิ่มแสงเวลา 04:00–08:00 น. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 ใน Phase IV เร็วขึ้น 2–4 ชั่วโมง (12:00–16:00 น.) ส่วนการให้แสงในช่วง 16:00–20:00 น. เพิ่มการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 ช่วง Phase II แต่การแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 ลดลงในช่วง 2 ชั่วโมงแรกของ phase I และไม่เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 ใน Phase IV ซึ่งการเพิ่มแสงเป็นเวลา 4 เดือน ก่อนนำไปชักนำช่อดอกไม่ส่งผลต่อระยะเวลาการเกิดดอก จำนวนช่อดอก จำนวนดอก และขนาดดอก อย่างไรก็ตาม การให้แสงเพิ่มที่ความเข้มแสง 150 μmol m-2s-1 ทำ ให้กล้วยไม้มีการดูดซับก๊าซ CO2 ดีกว่าการให้แสงเพิ่มที่ความเข้มแสง 100 μmol m-2s-1 ทั้งสองช่วงเวลา

Article Details

บท
บทความวิจัย