การยอมรับการปลูกพืชร่วมยางของเกษตรกรในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ศิริรัตน์ ตันเจริญ
พนามาศ ตรีวรรณกุล
พิชัย ทองดีเสิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจสภาพการผลิตยางพารา และความรู้เกี่ยวกับการ ปลูกพืชร่วมยางของเกษตรกร และ 2) การยอมรับการปลูกพืชร่วมยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างจากเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 177 คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบผสานวิธี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกร ร้อยละ 52.5 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.3 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 46.3 มีแรงงานครัวเรือนเฉลี่ย 1 คน และแรงงานจ้างเฉลี่ย 2 คน มีรายได้และรายจ่ายเฉลี่ย 257,618.5 และ 58,256.9 บาทต่อปี ตามลำดับ เกษตรกรมีประสบการณ์การทำสวนยางพาราเฉลี่ย 15.1 ปี เกษตรกรมีแหล่งน้ำสำหรับปลูกพืชร่วมยาง ร้อยละ 41.2 มีพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 19.9 ไร่ ปริมาณผลผลิตยางพาราเฉลี่ย 279.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ซึ่งแบ่งผลประโยชน์ระหว่างเจ้าของสวนยางพาราและแรงงานจ้างในสัดส่วน 50 : 50 เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชร่วมยางในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 12.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน เกษตรกรมีการยอมรับการปลูกพืชร่วมยางในขั้นรับรู้มากที่สุด รองลงมาคือขั้นสนใจ ขั้นประเมินค่า ขั้นลองทำ และขั้นยอมรับ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย