อิทธิพลของพันธุ์และแหล่งที่มาของท่อนพันธุ์ต่อการแตกกิ่งของมันสำปะหลัง

Main Article Content

สายฝน ศรีสุธา
เฉลิมพล ภูมิไชย์
วิจารณ์ วิชชุกิจ
เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์
สุภาวดี บุญมา

บทคัดย่อ

การแตกกิ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการออกดอกของมันสำปะหลัง เมื่อนำไปปลูกในต่างสถานที่จะมีการแตกกิ่งแตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของการแตกกิ่งในมันสำปะหลังทั้ง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ห้วยบง 80 พันธุ์ห้วยบง 90 และสายพันธุ์ MKUC50–2–60 และศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุ์และแหล่งที่มาของท่อนพันธุ์ต่อการแตกกิ่งของมันสำปะหลังใน 2 สถานที่ปลูก โดยได้นำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังมาจาก 4 สถานที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ แปลงของเกษตรกร 2 แปลง และแปลงของสถานีวิจัย 2 แปลง การทดลองแรกวางแผนการทดลองแบบ Split-plot in Randomized Complete Block Design จำนวน 4 ซ้ำ ปลูกทดสอบในต้นฤดูฝน ปีการเพาะปลูก 2559/2560 การทดลองที่สองวางแผนการทดลองแบบ 3 x 2 x 2 Factorial Arrangement in Randomized Complete Block Design ปลูกทดสอบในต้นฤดูฝน ปีการเพาะปลูก 2560/2561 ทั้งสองสถานที่ปลูกทดสอบในฤดูที่ 1 การแตกกิ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P < 0.05) พันธุ์ห้วยบง 80 มีการแตกกิ่งมากที่สุด มีการแตกกิ่งร้อยละ 80–87 ในฤดูที่ 2 พันธุ์ห้วยบง 80 มีการแตกกิ่งร้อยละ 43–69 พันธุ์ห้วยบง 90 ไม่มีการแตกกิ่ง จากการศึกษาพบว่าอิทธิพลของพันธุ์ สถานที่มาของท่อนพันธุ์ และอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุ์และสถานที่มาของท่อนพันธุ์มีผลต่อการแตกกิ่งอย่างมีนัยสำคัญ การแตกกิ่งและออกดอกของมันสำปะหลังช่วยให้นักปรับปรุงพันธุ์สามารถผสมและคัดเลือกมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะตามที่ต้องการได้

Article Details

บท
บทความวิจัย