การใช้ชีววิธีในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคใบไหม้ของยูคาลิปตัส

Main Article Content

ธารรัตน์ แก้วกระจ่าง
พรพิมล หมั่นจิตร
นพมาศ โตสมบูรณ์

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการยับยั้งเชื้อก่อโรคใบไหม้ของยูคาลิปตัส 2 ชนิด (Cylindrocladium reteaudii และ Pestalotiopsis sp.) โดยใช้การควบคุมด้วยชีววิธี 2 วิธี คือ การใช้ราปฏิปักษ์ และการใช้น้ำส้มควันไม้ ซึ่งผลจากการทดสอบประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์ 2 ชนิด ได้แก่ Trichoderma asperellum และ T. harzianum ในการยับยั้งราก่อโรคใบไหม้ยูคาลิปตัสในสภาพจานเลี้ยงเชื้อ พบว่า ราปฏิปักษ์ทั้ง 2 ชนิด สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อก่อโรคได้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) นอกจากนี้เมื่อนำ T. asperellum ไปทดสอบการยับยั้งเชื้อ C. reteaudii โดยการฉีดพ่นเชื้อก่อโรคโดยตรงที่กล้าไม้ พบว่า การฉีดพ่น T. asperellum ลงในดินบริเวณรอบโคนต้นกล้าสามารถช่วยลดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคได้เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่า การฉีดพ่น T. asperellum ทุก ๆ 3 วัน สามารถช่วยลดการเกิดโรคได้ดีกว่าฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว สำหรับการใช้น้ำส้มควันไม้ในการควบคุมโรคแบบชีววิธีนั้น พบว่า น้ำส้มควันไม้สามารถยับยั้งรา C. reteaudii (IC50 = 13,679.70 ppm) ได้ดีกว่า Pestalotiopsis sp. (IC50 = 18,218.50) และพบว่าที่ระดับความเข้มข้น 40,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราก่อโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงควรนำชีววิธีทั้ง 2 ประเภทนี้ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคใบไหม้ยูคาลิปตัสที่เกิดจาก C. reteaudii และ Pestalotiopsis sp. ในเรือนเพาะชำกล้าไม้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย