ความคิดเห็นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในสามพรานโมเดล

Main Article Content

จิดรานุช พิมพ์สวัสดิ์
พนามาศ ตรีวรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ช่องทางการรับข่าวสารเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 3) การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ กับความคิดเห็นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค ในสามพรานโมเดล จำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.1 อายุเฉลี่ย 43.87 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 54.8 ประกอบอาชีพหลัก ลูกจ้าง/รับจ้าง ร้อยละ 33.2 มีอาชีพเสริมด้วยการทำการเกษตร ร้อยละ 15.6 มีรายได้หลักเฉลี่ย 28,917.32 บาท/เดือน รายได้เสริมเฉลี่ย 1,977.66 บาท/เดือน รายได้รวมเฉลี่ย 30,894.99 บาท/เดือน มีความสนใจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 53.8 2) ผ้บู ริโภคส่วนใหญ่รับข่าวสารเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ จากสื่อมวลชน ได้แก่ อินเตอร์เน็ต ร้อยละ 60.5 3) ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 90.1 ไม่รับรู้ ร้อยละ 9.9 4) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ค่าเฉลี่ยรวม 2.51 โดยแบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านหลักสุขภาพ ค่าเฉลี่ย 2.52 ด้านหลักระบบนิเวศน์ ค่าเฉลี่ย 2.55 ด้านหลักความเป็นธรรม ค่าเฉลี่ย 2.46 และด้านหลักการดูแลเอาใจใส่ ค่าเฉลี่ย 2.51 และ 5) เพศ อายุ อาชีพเสริม และการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในสามพรานโมเดล ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย