ความรู้และการปฏิบัติด้านเคหกิจเกษตรของแม่บ้านเกษตรกร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ชมพูรัตน์ ชมบุญ
พนามาศ ตรีวรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) เพื่อศึกษาการได้รับการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตร 3) เพื่อศึกษาความรู้ด้านเคหกิจเกษตร 4) เพื่อศึกษาการปฏิบัติด้านเคหกิจเกษตรของแม่บ้านเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 112 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการศึกษา พบว่า 1) แม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 56.83 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 75.0 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน อาชีพหลักครัวเรือนทำการเกษตรร้อยละ 70.5 อาชีพเสริมครัวเรือนส่วนใหญ่ไม่ทำการเกษตร ร้อยละ 66.1 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 209,020 บาท/ปี รายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย 116,578 บาท/ปี ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 8.75 ไร่ มีจำนวนแรงงานในการทำการเกษตรเฉลี่ย 3 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือน ร้อยละ 88.4 มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกล่มุ แม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ย 12 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพภายในกลุ่ม เป็นสมาชิกกลุ่ม ร้อยละ 65.2 และเป็นสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มแม่บ้าน ร้อยละ 98.2 2) แม่บ้านเกษตรกรมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 7 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมด้านเคหกิจเกษตรในปี พ.ศ. 2558–2560 ร้อยละ 71.4 และทั้งหมดมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารด้านเคหกิจเกษตรมากกว่า 1 ช่องทาง เช่น จากช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โทรทัศน์ จากช่องทางสื่อกิจกรรม ได้แก่ การจัดสนทนากลุ่ม และมีความต้องการได้รับการส่งเสริมด้านเคหกิจเกษตรจากช่องทางสื่อกิจกรรมเป็นอันดับหนึ่ง 3) แม่บ้านเกษตรกรมีความรู้ด้านเคหกิจเกษตรโดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้ (1) เคหกิจเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนและชุมชน มีความรู้อยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 10.10 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน (2) การจัดการบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อม มีความรู้อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.32 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (3) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีความรู้อยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 2.88 จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน (4) การเพิ่มรายได้ มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.91 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน และเมื่อพิจารณาความรู้ด้านเคหกิจเกษตรรวมทุกประเด็น พบว่า แม่บ้านเกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับน้อยคะแนนเฉลี่ย 20.21 จากคะแนนเต็ม 29 คะแนน 4) แม่บ้านเกษตรกรมีการปฏิบัติด้านเคหกิจเกษตร มากกว่าร้อยละ 50 ในทุกประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย