การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม และจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ธนิษฐา ปานนก
พนามาศ ตรีวรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทผู้นำกลุ่ม การมีส่วนร่วมของเกษตรกร และปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในสามพรานโมเดล จำนวน 101 คน ในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดราชบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.4 อายุเฉลี่ย 48.51 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.7 เกษตรกรมีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 12.30 ไร่ ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 16.30 ปี ประสบการณ์ทำการเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 4.40 ปี มีสถานภาพการเป็นสมาชิกกลุ่ม โดยเป็นสมาชิก ร้อยละ 82.1 เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้หลักการเกษตรอินทรีย์ในระดับมาก ร้อยละ 94.1 โดยได้คะแนนความรู้เฉลี่ย 18.13 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และมีความรู้หลักการรับรองแบบมีส่วนร่วมพี จี เอส ในระดับมาก ร้อยละ 99.0 โดยได้คะแนนความรู้เฉลี่ย 17.14 จากคะแนนเต็ม 19 คะแนน เกษตรกรเห็นด้วยระดับมากเกี่ยวกับบทบาทผู้นำกลุ่มค่าเฉลี่ย 2.54 เกษตรกรส่วนใหญ่มีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติการ/ดำเนินงาน ร่วมรักษาผลประโยชน์ ร่วมประเมินผล ในกระบวนการจัดตั้งกลุ่ม ร้อยละ 62.4 กระบวนการดำเนินการ ร้อยละ 98.0 และกระบวนการกำกับควบคุมการดำเนินงานและ การเลิกกลุ่มร้อยละ 89.1 เกษตรกรพบปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์สามอันดับแรก ได้แก่ ผู้บริโภค มีการรับรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ไม่เพียงพอ ร้อยละ 50.5 การประชาสัมพันธ์ตลาดเกษตรอินทรีย์มีไม่เพียงพอร้อยละ 40.6 การพัฒนาความรู้ให้กับสมาชิกกลุ่มเกษตรกรไม่เพียงพอร้อยละ 37.6 จึงควรมีการส่งเสริมการรับรู้ด้านเกษตรอินทรีย์แก่ผู้บริโภค และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ พี จี เอส แก่ผู้เกี่ยวข้องในระบบเกษตรอินทรีย์

Article Details

บท
บทความวิจัย