ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus siamensis RRK1–Rif ในการลดการเกิดโรคกาบใบแห้ง และโรคเมล็ดด่างของข้าว

Main Article Content

จิระเดช แจ่มสว่าง
วรรณวิไล อินทนู
บังอร น้อยใสย์

บทคัดย่อ

การทดสอบประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus siamensis RRK1–Rif ในการลดการเกิดโรคกาบใบแห้งและโรคเมล็ดด่างของข้าวในแปลงขนาดเล็ก (1 × 3 ตารางเมตร) พบว่าทุกกรรมวิธีที่ใช้ชีวภัณฑ์ B. siamensis RRK1–Rif แช่เมล็ด (Sk)และพ่นต้นข้าว 3 ครั้ง (Ps) หรือใส่ขณะเตรียมดิน (Sp) สามารถลดความรุนแรงและเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคกาบใบแห้งของข้าวซึ่งเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ปลูกเชื้อรา R. solani โดยสามารถลดการเกิดโรคหลังการปลูกเชื้อสาเหตุโรคที่ 14 และ 21 วัน ได้ 49.80–60.14% และ 32.55–62.78% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่มีการปลูกเชื้อสาเหตุโรค นอกจากนี้ชีวภัณฑ์ B. siamensis RRK1–Rif ยังช่วยลดโรคเมล็ดด่างบนรวงข้าวที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคตามธรรมชาติได้ 35.26–55.53% เมล็ดดีเพิ่มขึ้น 6.36–11.71% เมล็ดด่างลดลง 3.78–23.19% และเมล็ดลีบลดลง 9.01–43.40% เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่มีการปลูกเชื้อรา R. solani ชีวภัณฑ์ B. siamensis RRK1–Rif สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวได้โดยเพิ่มจำนวนต้นต่อกอ รวงต่อกอ ช่วยให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 20.60–54.45% โดยมีค่าสูงกว่าน้ำหนักผลผลิตที่ได้จากกรรมวิธีที่ใช้สารเคมี ช่วยเพิ่มข้าวกล้องเต็มเมล็ด และลดข้าวกล้องหักได้ เชอื้ แบคทีเรีย B. siamensis RRK1–Rif สามารถเจริญครอบครองรากได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยว และพบเชื้อแบคทีเรียมีชีวิตอยู่รอดบนใบข้าว 63.33–93.33% หลังพ่นชีวภัณฑ์บนต้นข้าว 24 ชั่วโมง

Article Details

บท
บทความวิจัย