การชักนำให้เกิดแคลลัสและต้นอ่อนจากกลีบดอกที่พัฒนาแล้วของเบญจมาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการเพาะเลี้ยงกลีบดอกชนิด ray floret ที่พัฒนาแล้วของเบญจมาศพันธุ์การค้า 5 พันธุ์ บนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต 2, 4–D ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 0, 12 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตรเพาะเลี้ยงในสภาพที่ให้แสง 50 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที 16 ชั่วโมงต่อวัน อุณหภูมิ 25 ± 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 สัปดาห์พบว่า ในอาหารที่มีเพียง 2, 4–D หรือ BA เพียงชนิดเดียวและที่ไม่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ไม่สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ในเบญจมาศทั้ง 5 พันธุ์ ส่วนอาหารที่มีทั้ง 2, 4–D และ BA สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสที่มีลักษณะเป็นแบบเกาะกันแน่นสีเขียว เมื่อนำแคลลัสมาชักนำให้เกิดยอดบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตไคเนตินความเข้มข้น 0, 1, 2 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตรพบว่าเริ่มมียอดเกิดขึ้นเมื่อ 8 สัปดาห์ และเกิดยอดได้มากขึ้นเมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทั้งนี้พบว่าแคลลัสมีการตอบสนองต่อไคเนตินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยอาหารที่เติมไคเนตินความเข้มข้นสูงสุดคือ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดได้มากที่สุด และยังพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาหารสูตรชักนำให้เกิดแคลลัสและอาหารสูตรชักนำยอดที่มีต่อการพัฒนาเป็นยอดจากแคลลัส นอกจากนี้พันธุ์เบญจมาศที่แตกต่างกันก็ตอบสนองต่อการชักนำให้เกิดยอดได้ต่างกันอีกด้วย