ศักยภาพการสังเคราะห์แสงของใบสะละพันธุ์เนินวงและสุมาลี

Main Article Content

พรรณี ชื่นนคร
สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์

บทคัดย่อ

การประเมินศักยภาพการสังเคราะห์แสงของใบสะละพันธุ์ “สุมาลี” ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเทียบกับ “เนินวง” ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิม ทั้ง 2 พันธุ์มีอัตราสังเคราะห์แสงสุทธิสูงตั้งแต่ทางใบแรกเป็นต้นไป และมีพัฒนาการของกระบวนการสังเคราะห์แสงเต็มที่ในทางใบที่ 10–11 โดยมีอัตราสังเคราะห์แสงรวมสูงสุดใกล้เคียงกันในช่วง 12–13 μmolCO2 m-2s-1 แต่เนินวงต้องการแสง (700 μmolPPF m-2 s-1) สูงกว่าสุมาลี ภายใต้สภาพร่ม สุมาลีเติบโตเร็วกว่าเนินวงชัดเจน เนื่องจากมีอัตราหายใจทั้งในที่มืดและเชิงแสงสัดส่วนของกระบวนการตรึง O2 ต่อการตรึง CO2 และจุดชดเชย CO2 ต่ำกว่า แต่มีประสิทธิภาพการตรึง CO2สูงกว่า ในขั้นตอนการวัดเส้นตอบสนองต่อแสง มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือ ทั้งสองพันธุ์อ่อนไหวเมื่อใบได้รับความเข้มแสงสูง (2000 μmolPPF m-2 s-1) นานกว่า 3–5 นาที ซึ่งชักนำให้ปากใบปิดแคบลง ทำให้จำกัดอัตราสังเคราะห์แสงสุทธิ อัตราคายน้ำ และอัตราเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน ในการศึกษานี้จึงได้เปลี่ยนวิธีการวัดด้วยการให้ใบสัมผัสความเข้มแสงเริ่มต้นที่ 1000 μmolPPF m-2 s-1

Article Details

บท
บทความวิจัย