อิทธิพลของความหนาแน่นและการบรรจุออกซิเจนต่ออัตราการรอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทยเพื่อการขนส่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
อิทธิพลของความหนาแน่นและการบรรจุออกซิเจนต่ออัตราการรอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทย วางแผนการทดลองแบบ 5 x 3 Factorial in Randomized Complete Block Design 5 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 ความหนาแน่นของไรน้ำนางฟ้าไทย คือ 20 40 60 80 และ 100 ตัวต่อ 100 มิลลิลิตร ปัจจัยที่ 2 การบรรจุไรน้ำนางฟ้า คือ ไม่มีออกซิเจน ออกซิเจนผง และ แก๊สออกซิเจน ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาการขนส่งนานขึ้นและความหนาแน่นสูงขึ้นส่งผลต่อทำให้อัตราการรอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทยลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ปัจจัยของการบรรจุออกซิเจนผง และแก๊สออกซิเจนมีค่าเฉลี่ยอัตรารอดสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) กับไม่บรรจุออกซิเจนทุกชั่วโมง จึงสรุปได้ว่า สามารถขนส่งไรน้ำนางฟ้าได้ดีภายในเวลา 6 ชั่วโมง ขนส่งไรน้ำนางฟ้าไทยบรรจุแก๊สออกซิแจนสูงที่สุด 100 ตัวต่อ 100 มิลลิลิตร มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 100.00 ± 0.00 เปอร์เซ็นต์และขนส่งไรน้ำนางฟ้าไม่บรรจุออกซิเจนหรือบรรจุออกซิเจนผงได้เพียง 60 ตัวต่อ 100 มิลลิลิตร มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 92.26 ± 1.10 และ 98.58 ± 2.03 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ