การเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิตข้าวหอมนิลในสภาพถังปลูก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคในพื้นที่ปลูกนอกเขตชลประทานซึ่งมีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำในจังหวัดสุรินทร์ เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเกษตรกร วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษา พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ของวิธีการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมนิลปลอดสารพิษในสภาพถังปลูกสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์จำนวน 9 สิ่งทดลอง ทำ 6 ซ้ำ เพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มผลผลิตที่มีองค์ประกอบจากวัสดุการผลิตพืชที่มีในท้องถิ่น พบว่า 3 วิธีการที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดตามลำดับ ได้แก่ 1) วิธีปลูกแบบไร่ + [ปุ๋ยเคมี 18–0–6 + ออร์โทซิลิคอน 1.41 กรัม/ถังปลูก 20 วันหลังข้าวงอก] + [ปุ๋ยเคมี 46–0–0 + ออร์โทซิลิคอน 0.80 กรัม/ถังปลูก ระยะข้าวแตกกอสูงสุด และระยะกำเนิดช่อดอก] 2) วิธีปลูกแบบไร่ + [ปุ๋ยเคมี16–16–8 4.30 กรัม/ถังปลูก 20 วันหลังข้าวงอก + ปุ๋ยเคมี 46–0–0 1.84 กรัม/ถังปลูก 50 วันหลังข้าวงอก] และ 3) วิธีการปลูกแบบประณีต + [ปุ๋ยเคมี16–16–8 4.30 กรัม/ถังปลูก หลังย้ายกล้า 15 วัน + ปุ๋ยเคมี 46–0–01.84 กรัม/ถังปลูก หลังย้ายกล้า 35 วัน] และการทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์จำนวน 4 สิ่งทดลอง ทำ 10 ซ้ำ เพื่อพัฒนาวิธีการเพิ่มผลผลิตจากการบูรณาการวิธีการที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรกจากการทดลองที่ 1 พบว่า วิธีปลูกแบบประณีต จำนวน 2 หลุม/ถังปลูก + [ปุ๋ยเคมี 16–16–8 4.30 กรัม/ถังปลูก + ออร์โทซิลิคอน 4.30 กรัม/ถังปลูก หลังย้ายกล้า 10 วัน + ปุ๋ยเคมี 46–0–0 1.84 กรัม/ถังปลูก + ออร์โทซิลิคอน 1.84 กรัม/ถังปลูก หลังย้ายกล้า 40 วัน] เป็นวิธีการที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อถังปลูกของทั้ง 2 การทดลอง พบว่า วิธีการปลูกที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดจาก 3 ลำดับแรกของการทดลองที่ 1 มีความเหมาะสมต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิตข้าวหอมนิลในสภาพถังปลูกมากกว่าทุกวิธีการปลูกจากการทดลองที่ 2 และยังพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมในเรื่องดังกล่าวมีระดับความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปใช้หลังการอบรมอยู่ในระดับมาก