อิทธิพลของการตัดแต่งกิ่งและการให้ปุ๋ยต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกในสถานีวิจัยเพชรบูรณ์

Main Article Content

ธิดารัตน์ เมธาวรากุล
เบญญา มะโนชัย
ปริยานุช จุลกะ
ณัฏฐ พิชกรรม
ประภาส ช่างเหล็ก

บทคัดย่อ

กาแฟอาราบิก้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คนทั่วไปนิยมบริโภคเนื่องจากมีความหอมและรสชาติดี มีปริมาณคาเฟอีนต่ำ ทำให้สามารถบริโภคในรูปแบบกาแฟสดได้บ่อย แต่ประเทศไทยมีการผลิตกาแฟชนิดนี้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องปัจจัยการผลิต โดยสภาพพื้นที่และอากาศมีผลต่อคุณภาพและผลผลิตเมล็ดกาแฟ ดังนั้นการผลิตกาแฟอาราบิก้าในประเทศไทยจึงต้องมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพได้มาตรฐาน จึงศึกษาวิจัยในเรื่องวิธีการผลิตกาแฟ เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพและปริมาณผลผลิตให้ดีขึ้น โดยทดลองที่สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ Split–plot in RCBD มีปัจจัยหลักเป็นการตัดแต่งกิ่งและปัจจัยรองเป็นกรรมวิธีการให้ปุ๋ย 4 กรรมวิธี เก็บข้อมูลผลผลิตและวิเคราะห์คุณภาพกาแฟ พบว่าอิทธิพลร่วมของการตัดแต่งกิ่งร่วมกับกรรมวิธีการให้ปุ๋ยแบบต่าง ๆ ทำให้ความยาวผล ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ของผลสด ปริมาณกรดในสารกาแฟฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารกาแฟและกาแฟคั่ว ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟคั่ว และสารกาแฟที่ไม่ได้มาตรฐานมีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลการทดลองสรุปได้ว่าวิธีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดกาแฟ คือ การให้ปุ๋ยมีสูตร 15–15–15 อัตรา 10 กรัมต่อต้น ในช่วงเดือนมิถุนายน และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 8–24–24 อัตรา 250 กรัมต่อต้น ในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม(CF12) ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นถึง 41.67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ให้ปุ๋ย โดยมีปริมาณกรดในสารกาแฟน้อย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในกาแฟคั่วสูงแต่มีปริมาณคาเฟอีนและมีสารกาแฟที่ไม่ได้มาตรฐานต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย