ผลของระยะเวลาการเสริมไอโอดีนในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และระดับไอโอดีนในเนื้อปลาดุก บิ๊กอุย

Main Article Content

พัชรา โพธิพัฒน
สุกัญญา รัตนทับทิมทอง
อรประพันธ ส่งเสริม
สุชาต อิงธรรมจิตร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาการเสริมโพแทสเซียมไอโอเดต (potassium iodate, KIO3) ในระดับ 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัมลงในอาหารปลาทางการค้า ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และการสะสมไอโอดีนในเนื้อปลา โดยใช้ปลาดุกบิ๊กอุยขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 30 ± 10 กรัม/ตัว จำนวน 800 ตัว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มสุ่มให้ได้รับอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารทางการค้าไม่เสริม KIO3 (ควบคุม) เป็นระยะเวลา 120 วัน และกลุ่มที่ 2, 3 และ 4 เลี้ยงด้วยอาหารทางการค้าเสริม KIO3 เป็นระยะเวลา 60, 30 และ 15 วัน ก่อนสิ้นสุดการทดลอง ตามลำดับ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จากการทดลองพบว่า ปลาในทุกกลุ่มการทดลองมีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและองค์ประกอบซากแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตาม ปลาในกลุ่มที่ได้รับการเสริม KIO3 เป็นระยะเวลา 60, 30 และ 15 วัน ก่อนสิ้นสุดการทดลอง มีการสะสมไอโอดีนในเนื้อปลาสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารทางการค้าที่ไม่ได้เสริม KIO3 (P<0.05) ซึ่งการเสริมไอโอดีนในอาหารปลาที่ 15 วัน ก่อนสิ้นสุดการทดลอง ทำให้มีปริมาณไอโอดีนในเนื้อปลาที่สูงขึ้นโดยไม่เพิ่มต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวของปลาดุกบิ๊กอุย

Article Details

บท
บทความวิจัย