สัณฐานวิทยา โครงสร้างรัง อุณหภูมิที่มีผลต่อการอยู่รอด และวงจรชีวิตของชันโรงเลี้ยง 4 ชนิด

Main Article Content

อรนลิน ศรีสุขใส
เอกพันธ์ ไกรจักร
ชามา พานแก้ว

บทคัดย่อ

ศึกษาการจำาแนกชนิดชันโรงด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา โครงสร้างรัง และศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการอยู่รอด และวงจรชีวิตของชันโรง 4 ชนิด ได้แก่ Heterotrigona itama Cockerell, Lepidotrigona terminata Smith, Tetragonula iridipennis Smith และ T. pagdeni Schwarz จากการศึกษาพบว่า H. itama มีลำตัวขนาดใหญ่ สีดำ และ ปีกใส L. terminata อกด้านบนมีลักษณะขรุขระคล้ายกระเบื้องโมเสคสีดำ ขอบด้านข้างมีขนสีเหลืองน้ำตาลปกคลุม T. iridipennis และ T. pagdeni ทั้ง 2 ชนิด อกด้านบนมีแถบขนสีขาว 6 แถบ บริเวณขอบด้านหน้าของที่เก็บเกสรของ T. iridipennis มีสีเข้มแต่  T. pagdeni จะมีสีอ่อนกว่า โครงสร้างรังของ H. itama และ L. terminata มีขนาดเซลล์ตัวอ่อนและถ้วยเก็บอาหารใหญ่กว่า T. iridipennis และ T. pagdeni  และมีปริมาตรรังของ H. itama มากที่สุด คือ 700 ลูกบาศก์นิ้ว ในขณะที่ปริมาตรรังของ T. iridipennis มีปริมาตรน้อยที่สุดอยู่ที่ 247 ลูกบาศก์นิ้ว ผลการศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ส่งผลต่อการอยู่รอดของชันโรง คือ 30 องศาเซลเซียส วงจรชีวิตของชันโรงพบว่า H. itama, L. terminata, T. iridipennis และ T. pagdeni ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัย 31.96, 40.50, 48.43 และ 44.86 วัน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย