การประเมินการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกล้ามันสำปะหลังที่เพาะเลี้ยง ในสภาพปลอดเชื้อต่อระดับไนโตรเจนที่แตกต่างกัน

Main Article Content

ประภาพรรณ ยังสุขยิ่ง
วิจารณ์ วิชชุกิจ
ภานุพงษ์ คงจิว
จักรกฤษณ์ ศรีแสง
สุตเขตต์ นาคะเสถียร

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันสำปะหลังเพื่อเป็นเครื่องมือในการผลิตกล้าพืชภายใต้สภาวะควบคุม เพื่อนำไปใช้ศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมธาตุอาหารและยีนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ ได้แก่ ห้วยบง 80 (HB80), เกษตรศาสตร์ 50 (KU50) และ ระยอง 1 (R1) ในอาหารสูตร MS (Murashige and Skoog, 1962) ที่แปรผันปริมาณแอมโมเนียมไนเตรท (NH4NO3) 5 ระดับ คือ 0, 10.3, 20.6, 30.9 และ 41.2 mM โดยเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นอ่อน ที่ 30, 35, 40, 45, 50 และ 55 วันหลังเพาะเลี้ยง วัดค่าดัชนีความเขียว น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และมวลชีวภาพของใบ ต้น ราก น้ำหนักสดและแห้งรวม พบว่า น้ำหนักแห้งรวมทั้งหมด ของแต่ละพันธุ์มีค่าสูงสุด ที่ 45 วันหลังเพาะเลี้ยงในอาหารที่เติมแอมโมเนียมไตเตรท 41.2 mM HB80 มีการเจริญเติบโตและการพัฒนาโดยรวมสูงกว่า KU50 และ R1 โดย HB80 มีน้ำหนักแห้งรวมทั้งหมด (TDW) สูงกว่า KU50 และ R1 อยู่ร้อยละ 9.64 และ 1.98 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก HB80 มีจำนวนใบ จำนวนราก ความยาวใบ ต้น และราก มากกว่าอีก 2 พันธุ์ นอกจากนี้ พบว่า ดัชนีความเขียวของ HB80 มีค่าสูงที่สุดในระหว่าง 3 พันธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปริมาณแอมโมเนียมไนเตรท พบว่า อาหารที่เติมแอมโมเนียมไนเตรท 41.2 mM ให้ผลการเจริญเติบโตและการพัฒนาดีในทุกระยะเวลาที่เพาะเลี้ยงมันสำปะหลัง ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนมันสำปะหลังสำหรับการศึกษาการแสดงออกของยีนเนื่องจากอิทธิพลของธาตุอาหารได้

Article Details

บท
บทความวิจัย