ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการรวมกลุ่มเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) การรับรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางและการบริหารจัดการองค์กรกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการรวมกลุ่มเป็น สมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 250 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ด้วยค่าไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54.01 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สถานภาพสมรส อาชีพหลักทำสวนยางพารา มีพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 40.80 ไร่ จำนวนแรงงานเฉลี่ย 4 คน รายได้ต่อเดือน เฉลี่ย 48,000 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 28,868 บาท เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางเฉลี่ย 6.88 ปี เปิดรับข่าวสารจากวิทยุ เสียงตามสาย และประกาศ มีการรับรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2.38 คะแนน) มีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรกลุ่มภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2.43 คะแนน) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ ระดับการศึกษา พื้นที่ในการปลูกยางพารา จำนวนแรงงาน ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง รายได้ รายจ่าย ช่องทางการเปิดรับ ข่าวสาร การรับรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม และการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการรวมกลุ่มเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 ปัญหาหลักของ เกษตรกร คือ การติดตามหนี้ได้ล่าช้า
Article Details
References
Dechaphon, N. 2015. Member Satisfaction towards Service Quality of Nong Kok Land Reform Agricultural Cooperative Ltd. MS Thesis, Thammasat University, Bangkok. (in Thai)
Kaewunruan, M. 2004. Comparative Member Satisfaction toward Service of Sakon Nakhon Public Health Saving and Credit Cooperative Limited. MBA Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Office of Agricultural Economics. 2019. Para rubber plantation. Available Source: http://www.oae.go.th/assets/ portals/1/fileups/prcaidata/files/para%20rubber61.pdf, March 13, 2021.
Peanvithaya, P. 2009. Members’ Satisfaction on the Services of the Thrift and Credit Cooperative of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives Limited. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Rubber Authority of Thailand. 2019. Thailand rubber price. Available Source: http://www.raot.co.th/rubber2012/menu5.php, March 13, 2021
Sanam Chai Khet Agricultural Land Reform Cooperatives Limited. 2019. Lat Krating, Sanam Chai Khet, Chachoengsao.
Sirisom, P. 2016. Knowledge Management Action Plan 2016. KM Plan, Nakhon Sawan Rajabhat University, Nakhon Sawan. (in Thai)
Sombatsri, P. 2006. Farmers, Satisfaction towards Rubber Extension Project in Nakhon Phanom Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Somboonsuke, B. 2010. Smallholding Farm Management in Songkhla Province. Department of Agricultural Development, Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University, Songkhla. (in Thai)
Suphajaroenkool, A., U. Parinyasutinun, K. Laeheem and B. Somboonsuke. 2019. Rubber fund cooperatives: livelihood strategy of rubber planters under the situation of rubber’s price fluctuation case study of Baan Wang Pa, Thung Tam Sao, Hat Yai, Songkhla. JHUSO UBRU. 10(2): 248–258. (in Thai)
Yamane, T. 1976. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd edition. Harper and Row, New York, USA.