การปรับตัวต่อสถานการณ์ภัยแล้งของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นันท์นภัส จันทร
พนามาศ ตรีวรรณกุล
เมตตา เร่งขวนขวาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) การรับรู้ผลกระทบสถานการณ์ภัยแล้ง 3) ความคิดเห็นต่อแนวทางแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้ง 4) ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้ง และ 5) การปรับตัวต่อสถานการณ์ภัยแล้งของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 114 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบข้อมูลตารางแบบไขว้ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51.8) มีอายุเฉลี่ย 51.58 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 52.6 มีรายได้เฉลี่ย 8,850 บาทต่อเดือน และร้อยละ 59.6 มีหนี้สิน ร้อยละ 97.4 ของเกษตรกรรับรู้ผลกระทบสถานการณ์ภัยแล้งในระดับมาก โดยเกษตรกรทุกคนรับรู้ว่าภัยแล้งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เกษตรกรเห็นด้วยระดับปานกลางต่อแนวทางแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้ง (ค่าเฉลี่ย 2.12) โดยเห็นด้วยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.34) เรื่องการจัดการผลกระทบของภัยแล้ง เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งในระดับมาก (ร้อยละ 97.4) โดยได้คะแนนความรู้เฉลี่ย 10.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน เกษตรกร ร้อยละ 51.8 มีการปรับตัวต่อสถานการณ์ภัยแล้งในระดับน้อย และเกษตรกร ร้อยละ 48.2 มีการปรับตัวในระดับมาก ซึ่งเกษตรกรทุกคนปรับตัวโดยการวางแผนการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรที่มีเพศ อายุ การศึกษา ภาวะหนี้สิน การรับรู้ผลกระทบสถานการณ์ภัยแล้ง ความคิดเห็นต่อแนวทางแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้ง และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งต่างกันมีการปรับตัวต่อสถานการณ์ภัยแล้งแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dastisong, S. 2013. Adaptation of the Farmers to Drought Forecasting of the Standardized Precipitation Index and Markov Chains for Water Resources Management in Nakhon Ratchasima Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Mahakham, P. 2014. Livelihood Approach and Community-Based Adaptation to Flood Risk of Tha Chin Watershed: A Case Study of Lan Tak Fa Subdistrict, Nakhon Chai Si District, Nakhon Pathom Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

National Agricultural Big Data Center. 2020. Impacts of drought on agriculture and farmers assistance measures. Available Source: https://www.nabc.go.th/disaster/detail, September 16, 2020. (in Thai)

Office for Prevention and Mitigation Phra Nakhon Si Ayutthaya. 2015. Prevention and mitigation plan. Available Source: https://ww2.ayutthaya.go.th/news_document/cate/6?page=33, November 18, 2020. (in Thai)

Suta, R., S. Khempet and S. Jongkaewwattana. 2014. Perception and adaptation of upland farmer’s production system to climate variability. Khon Kaen Agr. J. 42(Suppl. 2): 190–197.

Tannin, S. 2013. The Adaptation to the Problems of Farmers Cultivating Coconut in Thap Sakae District, Prachuap Khiri Khan Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Tongsongyod, M. 2014. Community-Based Adaptation to Drought Risk in Upper Tha Chin Watershed: A Case Study of Sapan Hin Subdistrict, Nong Mamong District, Chai Nat Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)