การจัดการตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ไขขวัญ กองจันทร์
พนามาศ ตรีวรรณกุล
เมตตา เร่งขวนขวาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) การรับรู้ถึงผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าว 3) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าว และ 4) การจัดการตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 160 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 63.8) มีอายุเฉลี่ย 57.1 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อย ละ 48.7) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 33.7 ไร่ และถือครองที่ดินโดยการเช่า (ร้อยละ 56.9) เกษตรกรส่วนใหญ่รับรู้ถึงผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าว (ร้อยละ 96.2) และมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าว (ร้อยละ 79.4) ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 9.5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 98.1) มีการจัดการตอซังและฟางข้าวในระดับน้อย และมีเพียงส่วนน้อย (ร้อยละ 1.9) ที่จัดการตอซังและฟางข้าวในระดับมาก ซึ่งเกษตรกรทุกคนมีการจัดการโดยการอัดฟางก้อน ทั้งยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ แม้มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าว ลักษณะการถือครองที่ดิน การรับรู้ถึงผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าว และความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวแตกต่างกัน มีการจัดการตอซังและฟางข้าวในระดับน้อยเหมือนกัน โดยปัญหาในการจัดการตอซังและฟางข้าวสำหรับเกษตรกร คือ การขาดแคลนน้ำ และเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ ดังนั้น ภาครัฐควรบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการทำนา สนับสนุนเครื่องจักรกล และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวแก่เกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Deetong–on, A. 2018. Legal measures for controlling air pollution from agricultural burning. Graduate Law J. 11: 487–501.

Department of Agricultural Extension. 2015. Project of Extension for Stop Burning in Agricultural Area 2015. Available Source: http://www.plan.doae.go.th/myweb2/prbm58/p2458.pdf, November 16, 2020. (in Thai)

Kerdmongkol, B., B. Yooprasert and P. Tangwiwat. 2013. The straw and rice stubble incorporation of farmers in Takhu sub–district, Pakthongchai district, Nakhon Ratchasima province, pp. 2894–2902. In Proc. the 10th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference, 6–7 December 2013. (in Thai)

Naclungka, K. 2008. Factors Affecting Farmers’ Behavior in Rice Stubble–Straw Burning in Amphoe Lat Bua Luang, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Nakaiam, W., S. Seesung and P. Nilvises. 2014. Rice production and straw management by farmers in the irrigation area of Wat Bot district in Phitsanulok province. In Proc. the 4th STOU Graduate Research Conference, 26–27 November 2014. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2021. Agricultural Statistics of Thailand 2020. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. (in Thai)

Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Agricultural Extension Office. 2020a. Project of Extension for Stop Burning in Agricultural Area in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province 2020. Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Agricultural Extension Office, Phra Nakhon Si Ayutthaya. (in Thai)

Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Agricultural Extension Office. 2020b. Agriculture Information Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Agricultural Extension Office, Phra Nakhon Si Ayutthaya. (in Thai)

Sonsok, T. 2016. Law enforcement problems of air pollution controls for open burning. Ubon Ratchathani Law J. 9(18): 9–27.

Wisetsantikul, S. and P. Treewannakul. 2019. Use of rice production cost reducing technology of farmers, Doembang sub–district, Doembangnangbuat district, Suphanburi province. Agricultural Sci. J. 50(1): 64–77.