การได้รับการสนับสนุนจากโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

วชิรญา ไชยวุฒิ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
พิชัย ทองดีเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) การเปิดรับข่าวสารในการผลิตพืช 3) การได้รับการสนับสนุนจากโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการได้รับการสนับสนุนจากโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่จำแนกตามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว 73 ราย รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด การทดสอบที (t–test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F–test) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวเป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.10 อายุเฉลี่ย 59.27 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 82.20 มีอาชีพทำนา ร้อยละ 100 จำหน่ายสินค้าผ่านพ่อค้า/ตลาดรับซื้อสินค้ากลาง ร้อยละ 77.53 มีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 36.25 ปี และมีขนาดพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 14.06 ไร่ โดยเกษตรกรแปลงใหญ่ส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลผ่านเจ้าหน้าที่รัฐ/เอกชน ร้อยละ 64.40 ได้รับการสนับสนุนและมีความเพียงพอจากโครงการด้านการถ่ายทอดความรู้แนะนำการทำเกษตรในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 1.00 และ 0.92 ตามลำดับ ประเด็นที่เกษตรกรได้รับการสนับสนุนไม่เพียงพอมีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเชื่อมโยงการตลาด 2) ด้านการตรวจรับรองมาตรฐานของทางราชการ และ 3) ด้านการจัดหาแหล่งรับซื้อผลผลิต เกษตรกรที่มีลักษณะการถือครองที่ดินทางการเกษตรแตกต่างกันได้รับการสนับสนุนจากโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลจากการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการทำการเกษตรและการแข่งขันของภาคการผลิตตามแผนพัฒนาประเทศสู่เกษตรแปลงใหญ่อื่น ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Klinprathum, A., P. Sriboonruang and S. Rangsipaht. 2017. Knowledge Need toward Good Agricultural Practice (GAP) for Mango in Samko District, Angthong Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2016. A Large–Scale Agricultural Extension System Operation Manual. Available Source: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER057/GENERAL/DATA0000/00000233.PDF, December 14, 2019. (in Thai)

Nanna, N., P. Sriboonruang and P. Thongdeelert. 2016. The need in production knowledge of GAP Thai jasmine rice of farmers in Thungsumrith, Phimai district, Nakhon ratchasima province. King Mongkut’s Agricultural Journal. 34(2): 59–66. (in Thai)

Niyamangkul, S. 2013. Social Science and Statistical Research Methods Used. Book to You, Bangkok. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2015. Measures to Reduce Production Costs and Increase the Opportunity to Compete in Agricultural Products with a Large–Scale Agricultural Extension System. Available Source: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER19/DRAWER062/GENERAL/DATA0000/00000273.PDF, July 17, 2021. (in Thai)

Office of the National Economic and Social and Development Council. 2016. The Twelve Nation Economic and Social Development Plan (2017–2021). Available Source: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422, April 6, 2020. (in Thai)

Phasunon, P. 2014. Sample size determination from Krejcie and Morgan (1970) approach in quantitative research. FAA Journal 7(2): 112–120. (in Thai)