ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเกษตรของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

มาลินี หนูงาม
ธานินทร์ คงศิลา
จอมสุรางค์ ลิมป์ประเสริฐกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกร ประเภทของการรับบริการ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 2) ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเกษตร และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน ประเภทการรับบริการ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกร ขนาดของตัวอย่าง คือ เกษตรกร 312 คน ในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มารับบริการจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเกษตรถูกนำมาพรรณนาและทดสอบสมมติฐานเชิงสถิติ ผลวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย (ร้อยละ 58.65) อายุ 41–50 ปี (ร้อยละ 33.00) จบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ร้อยละ 23.72) มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยกว่า 16 ไร่ (ร้อยละ 34.62) และมีที่ดินเป็นของตนเอง (ร้อยละ 58.65) เกษตรกรส่วน ใหญ่ขอรับชีวภัณฑ์มากที่สุด (ร้อยละ 79.71) และรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคลผ่านเพื่อนบ้าน (ร้อยละ 36.13) จากสื่อกิจกรรมผ่านการเข้ารับฝึกอบรมความรู้ทางการเกษตรจากภาครัฐ (ร้อยละ 41.43) และจากสื่อมวลชนผ่านทางเอกสารและคำแนะนำการเกษตรที่ได้รับแจก (ร้อยละ 42.71) เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเกษตรในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (4.06 คะแนน) อย่างไรก็ตาม อายุและการเป็นสมาชิกกลุ่มหรือองค์กรที่แตกต่างกันของเกษตรกรมีผลทำให้ความคิดเห็นภาพรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Awakul, W. 1992. Principles of Agricultural Extension. Thai Watana Panich Press Co., Ltd., Bangkok, Thailand. (in Thai)

Chiewchao, C. 2012. Farmers’ Opinions on the Operation of Community Rice Centers, Ratchaburi Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Department of Agricultural Extension. 2013. Work Manual for Agricultural Extension Personnel Agricultural Extension Work with the Community. 1st edition. The Printing House of the Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Okorley, E.L., D. Gray and J. Reid. 2010. Towards a cross–sector pluralistic agricultural extension system in a decentralized policy context: a Ghanaian case study. Journal of Sustainable Development in Africa. 12(4): 1–10.

Phongphaitoon, D. 2001. Media Exposure, Knowledge and Attitude about Sex Education of Teenagers in Bangkok. MS Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)

Si Sa–ad, B. 1999. Statistical Methods for Research. 2nd edition. Suweeriyasan Co., Ltd., Bangkok. (in Thai)

Srineang, P., C. Limson, S. Ritananchai and C. Srineang. 2014. Opinions of agricultural extension staffs on the agricultural extension system: a case study of the central region. Veridian E–Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts). 7(3): 613–626. (in Thai)

Suphan Buri Agricultural Technology Promotion Center (Plant Protection). 2017. Annual Report 2017. Department of Agricultural Extension, Bangkok. (in Thai)

Suthiyem, P. 2016. Research Project on the Study of the Impact of Climate Change on Crop Production and Energy Substitute Crops. Department of Agriculture Extension, Bangkok. (in Thai)

Yamane, T. 1967. Statistics. Harper and Row. New York, USA.