การผลิตชาตามเกษตรที่ดีสำหรับใบชาสดของเกษตรกรผู้ผลิตชาในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชลาธร จูเจริญ
พชรธิดา ชมภูทา
สุภาภรณ์ เลิศศิริ
สหภาพ ศรีโท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและเศรษฐกิจ สภาพการปลูกชา การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการปลูกชา การเปรียบเทียบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับใบชาสดของเกษตรกรผู้ผลิตชาตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและ เศรษฐกิจ และปัญหาและข้อเสนอแนะ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 121 ราย ถูกรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ พรรณนาด้วยสถิติ และทดสอบสมมติฐานทางสถิติ โดย ใช้ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.45 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีประสบการณ์ในการผลิตชาเฉลี่ย 10.67 ปี มีพื้นที่ผลิตชาเฉลี่ย 6.90 ไร่ ใช้แรงงานเฉลี่ย 11 คน ปริมาณผลผลิตชาเฉลี่ย 374.71 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รายได้เฉลี่ย 102,276.28 บาทต่อไร่ต่อปี และใช้ทุนสะสมของตนเองเป็นแหล่งเงินทุนในการผลิตชา เกษตรกรนิยมผลิตชาพันธุ์อัสสัมบนเนินเขาโดยการปักชำและใช้ปุ๋ยคอก และนำการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับใบชาสดภาพรวมมาปฏิบัติทุกครั้ง (ค่าเฉลี่ย 2.64 คะแนน) นอกจากนี้ ยังพบว่าเกษตรกรที่มีปริมาณผลผลิตชาแตกต่างกันมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับใบชาสดแตกต่างกัน (P < 0.05) ปัญหาที่พบในการผลิตชา ได้แก่ การให้น้ำ ซึ่งส่งผลให้ได้ปริมาณผลผลิตชาน้อยและขาดคุณภาพ การขนส่งบนพื้นที่สูง และการขาดความรู้ในการแปรรูปชาของเกษตรกร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวชาของเกษตรกรยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buamasung, B. 2018. Tea Production Development and Promotion Royal Project Foundation. Highland Research and Development Institute (Public Organization), Chiang Mai. (in Thai)

Department of Agriculture. 2017. Strategic tea 2017–2021. Available Source: https://api.dtn.go.th/files/v3/5f48d4a1ef414051e32f1a8e/download, June 25, 2021. (in Thai)

Highland Research and Development Institute (Public Organization). 2016a. Tea general information (Knowledge for sustainable highland development). Available Source: https://hkm1.hrdi.or.th/knowledge/detail/157, July 9, 2021. (in Thai)

Highland Research and Development Institute (Public Organization). 2016b. Planting and tea maintenance (Knowledge for sustainable highland development). Available Source: https://hkm1.hrdi.or.th/knowledge/detail/158, September 2, 2021. (in Thai)

Horticultural Research Institute Department of Agriculture. 2021. Situation of tea production. Available Source: https://www.doa.go.th/hort/?page_id=23941, June 25, 2021. (in Thai)

Kaewduang, N., B. Yooprasert and P. Tangwiwat. 2017. Organic safe vegetables production of Good Agricultural Practice of farmers in Nong khai province. Khon Kaen Agr. J. 45(Suppl. 1): 1590–1596. (in Thai)

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educ. Psychol. Meas. 30: 607–610.

Kulavijit, B. 2018. Personal media and agriculture 4.0 promotion. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(3): 2440–2454. (in Thai)

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2013. Thai Agricultural Standards (TAS 5905–2013): Good Agricultural Practices for Fresh Tea Leaf. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. (in Thai)

Niyamangkul, S. 2013. Social Science and Statistical Research Methods Used. Book to You, Bangkok. (in Thai)

Pettong, P. 2008. Adoption of Good Agricultural Practices for Rambutan of Farmers in Ban Nasan District, Surat Thani Province. MS Thesis, Prince of Songkhla University, Songkhla. (in Thai)

Putthasiri, P. 2017. Determinants of Price of Paddy Rice in Thailand. MS Thesis, Bangkok University, Bangkok. (in Thai)

Tanweenukul, M., C. Choocharoen and P. Sriboonruang. 2019. Nam-Hom coconut production for exportation by farmers in Damnoen Saduak district, Ratchaburi province. Agricultural Sci. J. 50(3): 299–308. (in Thai)

Yothongyod, M. and P. Sawudisun. 2018. Determination of the sample size for research. Available Source: http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf, August 20, 2018. (in Thai)