ความต้องการความรู้เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของเกษตรกรผู้ปลูกเผือกหอมแปลงใหญ่ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ณัทณลัลน์ เรืองธนอภัยสุข
ชลาธร จูเจริญ
สุภาภรณ์ เลิศศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับการปลูกเผือกหอม 3) ความต้องการความรู้เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 4) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต้องการความรู้เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และ 5) ปัญหาและอุปสรรค กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกเผือกหอมแปลงใหญ่ 132 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปลูกเผือกหอมแปลงใหญ่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.44 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาที่ปลูกเผือกหอมเฉลี่ย 16.35 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เฉลี่ย 3 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 4,481.06 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกเผือกหอมในระดับมาก เฉลี่ย 26.23 คะแนน จากคะแนนรวม 33 คะแนน และมีความต้องการความรู้เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เฉลี่ยรวมในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.10 คะแนน ผลการทดสอบสมมติฐานรายด้าน พบว่า การเปิดรับข่าวสารช่องทางสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับความต้องการความรู้ด้านขั้นตอน ระยะเวลาการขึ้นทะเบียน และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ขนาดพื้นที่ปลูกและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความสัมพันธ์กับความต้องการความรู้ด้านกฎหมายและการคุ้มครอง ปริมาณผลผลิตเผือกหอมมีความสัมพันธ์กับความต้องการความรู้ด้านประโยชน์ที่จะได้รับจากการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และระยะเวลาที่ทำอาชีพปลูกเผือกหอมมีความสัมพันธ์กับการต้องการความรู้โดยรวมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ขณะที่ เพศมีความสัมพันธ์กับความต้องการความรู้ด้านประโยชน์ที่จะได้รับจากการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และความรู้เกี่ยวกับการปลูกเผือกหอมมีความสัมพันธ์กับความต้องการความรู้โดยรวมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ปัญหาของเกษตรกรที่พบ ได้แก่ การขาดความรู้ในรายละเอียดการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น รัฐควรมีการเตรียมความพร้อมความรู้เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้แก่เกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ban Mo District Agricultural Office. 2020. Farmer registration information. Available Source: https://doae.go.th/doae/service.php, September 30, 2020. (in Thai)

Chomngarm, W., P. Sukprasert, S. Tongchure and N. Datepumee. 2021. Factors related to practice in Good Agricultural Practices (GAP) of parsley’s farmer in Nakhon Sawan province. PNUJR. 13(2): 354–371. (in Thai)

Chumsri, C., S. Srisuwan and S. Niyamangkoon. 2017. Factors related to oil palm planting of farmers in Bang Sawan subdistrict, Phrasaeng district, Surat Thani province. MCU SSP. 6(Suppl. 2): 597–607. (in Thai)

Department of Intellectual Property. 2004. Introduction to Geographical Indication. Available Source: https://www.ipthailand.go.th/th/faq/item/ความรู้เบื้องต้น-เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์.html, January 15, 2021. (in Thai)

Department of Intellectual Property. 2020. Operational manual for members requesting to use Geographical Indication “Phuek Hom Ban Mo”. Available Source: https://www.opsmoac.go.th/saraburi-article_prov-files-422791791834, September 4, 2021. (in Thai)

Jongpaisalsakul, P. 2021. The efficiencies arising from mergers under the competition law. CULJ. 39(1): 59–80. (in Thai)

Kaewlaima, N., S. Sreshthaputra, B. Limnirankul and P. Kramol. 2017. Factors affecting farmers’ adoption of organic agricultural practices, Mae Ho Phra subdistrict, Mae Taeng district, Chiang Mai province. Journal of Agriculture. 33(3): 387–395. (in Thai)

Konkhayun, W., S. Anusontpornperm and T. Kongsila. 2021. Factors correlated with the need for skills development of agricultural promotions scholars who work for the Department of Agricultural Promotions. King Mongkut’s Agr. J. 39(2): 119–129. (in Thai)

Niyamangkul, S. 2013. Research Methods in Social Sciences and Statistics. Book to you, Bangkok. (in Thai)

Phoonkasem, C., S. Kungwon, A. Untong and W. Nunthasen. 2020. Factors influencing the agricultural sustainability of sugarcane farmers. J. Grad. Skon. 17(76): 267–279. (in Thai)

Ruhul, P. 2013. Factors Affecting to Decision Making on Para Rubber Cultivation of Farmers in Sanam Chai Khet District, Chachoengsao Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Sa-ardnuk, K. and P. Sriboonruang. 2019. Opinions toward debt of farmers in Srimongkon subdistrict, Saiyok district, Kanchanaburi province. King Mongkut’s Agr. J. 37(2): 369–380. (in Thai)