ประสิทธิภาพของรูปแบบการหมักที่แตกต่างกันต่อคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์

Main Article Content

พงศกร นิตย์มี
เรวัตร จินดาเจี่ย
วิเซ็น ดวงสา
จักรกฤษณ์ ศรีแสง
พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี
สุรสิทธิ์ วงษ์สัจจานันท์

บทคัดย่อ

การผลิตปุ๋ยหมักด้วยระบบเติมอากาศโดยการกลับกองเป็นวิธีการที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ แต่เนื่องจากต้องใช้แรงงานและเวลาค่อนข้างสูงสำหรับการกลับกอง การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบวิธีการหมักปุ๋ย และศึกษาคุณภาพของปุ๋ยหมักที่ผ่านกระบวนการหมัก ณ ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ 3 x 2 factorial in completely randomized design โดยทดลองทั้งหมดจำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 คือ รูปแบบการหมัก ประกอบด้วย การหมักแบบกองสถิต การหมักโดยพลิกกลับกองทุก 7 วัน และการหมักโดยการเติมอากาศแบบใช้ลูกหมุน ปัจจัยที่ 2 คือ รูปแบบซองหมัก ประกอบด้วย ซองหมักแบบวงกลม และแบบสี่เหลี่ยม ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการหมักโดยการเติมอากาศแบบใช้ลูกหมุนส่งผลให้คุณภาพของปุ๋ยหมักมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) ในส่วนของค่าความเป็นกรด-ด่าง และการย่อยสลายสมบูรณ์ ส่วนรูปแบบซองหมักไม่ส่งผลให้คุณภาพของปุ๋ยหมักแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) และเมื่อพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการหมักที่แตกต่างกันร่วมกับรูปแบบซองหมักมีผลทำให้ค่าการย่อยสลายสมบูรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) โดยการหมักโดยการเติมอากาศร่วมกับซองหมักในรูปแบบวงกลมมีค่าการย่อยสลายสมบูรณ์สูงที่สุด (ร้อยละ 86.53 ± 2.31) ไม่แตกต่างกับแบบสี่เหลี่ยม (ร้อยละ 83.37 ± 1.87) ส่งผลทำให้ปุ๋ยหมักมีการย่อยสลายที่สมบูรณ์รวดเร็วกว่าการหมักในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังส่งผลทำให้คุณภาพของปุ๋ยหมักเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรสามารถนำรูปแบบการหมักโดยการเติมอากาศแบบใช้ลูกหมุนร่วมกับซองปุ๋ยหมักแบบวงกลมหรือแบบสี่เหลี่ยมนี้ไปปรับใช้เพื่อลดการใช้แรงงานและระยะเวลาในการหมักปุ๋ย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanathaworn, J. 2017. Biogas Production by Co-digestion of Carbon Rich Source and Earthworm Bedding Wastewater. School of Renewable Energy. Maejo University, Chiang Mai, Thailand. 82 pp. (in Thai)

Day, M. and K. Shaw. 2001. Biological, chemical, and physical processes of composting, pp. 17–50. In P.J. Stoffella and B.A. Kahn, eds. Compost Utilization in Horticultural Cropping Systems. Lewis Publishers, New York, USA.

Department of Agriculture. 2005a. Organic Fertilizers: Production, Use, Standards and Quality. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. 82 pp. (in Thai)

Department of Agriculture. 2005b. Fertilizer Act B.E. 2548. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. 2 pp. (in Thai)

Department of Agriculture. 2008. Organic Fertilizer Analysis Guide. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. 49 pp. (in Thai)

Gray, K.R., K. Sherman and A.J. Biddlestone. 1971. Review of composting. Part II. The practical process. Process Biochem. 6(10): 22–28.

Jaroenkul, T. and J. Sakulrat. 2016. Efficiency of organic waste decomposition in small-aerated composting bin. Thai Environmental Engineering Journal. 30(3): 85–93. (in Thai)

Khantee, A. 2009. The Chemical and Physical Property Changes of Waste Paper Sludge Cake During Decomposition for Pellet Organic Fertilizer Production. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Department of Land Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand. 135 pp. (in Thai)

Mala, T. 2003. Organic Fertilizers and Biofertilizers: Production Techniques and Utilization. Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok. 300 pp. (in Thai)

Osotsapha, Y., A. Wongmaneeroj and C. Hongprayoon. 2008. Fertilizers for Sustainable Agriculture. Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok. 519 pp. (in Thai)

Rangseesuriyachai, T. and K. Saricheewin. 2018. Study of organic waste composting with aeration and use of crude enzyme. Journal of Engineering, RMUTT. 16(2): 1–12. (in Thai)

Saricheewin, K. and T. Rangseesuriyachai. 2016. Composting of organic waste using aeration tank. Journal of Engineering, RMUTT. 14(1): 25–33. (in Thai)

Sawangpanyangkura, T. 2015. Static Pile Organic Fertilizer Production: Maejo Engineering Method 1. Faculty of Engineering, Maejo University, Chiang Mai. 51 pp. (in Thai)

Tanpanich, S., R. Chindachia, C. Niwasprakit and M. Keawdoung. 2009. Performance of low input active aeration pile, turning pile and static pile for composting organic fertilizer. As. J. Food Ag-Ind. Special issue: S211–S215.