การปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ศรีนวล บุญส่งศรี
พนามาศ ตรีวรรณกุล

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: โรคใบด่างมันสำปะหลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยภาครัฐกำหนดมาตรการในการป้องกันและกำจัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐาน การใช้ปัจจัยการผลิตและการจัดการผลผลิตมันสำปะหลัง ความรู้เกี่ยวกับโรคใบด่างมันสำปะหลังและมาตรการในการป้องกันและกำจัด การปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันและกำจัด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
วิธีดำเนินการวิจัย: เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 184 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและค่าไคกำลังสอง
ผลการวิจัย: เกษตรกรเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.10) อายุเฉลี่ย 56.97 ปี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 52.20 มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 24.23 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 24.00 ไร่ โดยปลูกมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 (ร้อยละ 61.95) เก็บท่อนพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ (ร้อยละ 96.74) มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1 คน จ้างแรงงานปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 13 คน จำหน่ายผลผลิตแบบหัวมันสด (ร้อยละ 96.70) มีรายได้จากมันสำปะหลังเฉลี่ย 104,144.02 บาท/ปี รายจ่ายในการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 50,692.39 บาท/ปี รายได้รวมจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 112,940.22 บาท/ปี โดยใช้เงินกู้เป็นแหล่งเงินทุน (ร้อยละ 70.10) เกษตรกรร้อยละ 48.90 มีความรู้ระดับปานกลางเกี่ยวกับโรคใบด่างมันสำปะหลังและมาตรการในการป้องกันและกำจัด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 11.39 คะแนน
สรุป: เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ย 1.56 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันและกำจัดโรคใบด่าง คือ ประสบการณ์และจำนวนแรงงาน ดังนั้นภาครัฐควรปรับรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเกษตรกรที่มีประสบการณ์และแรงงานที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arkin, H. 1974. Handbook of Sampling and Auditing and Accounting. McGraw Hill, Inc., New York, USA. 84 pp.

Chaleepleam, K., K. Taweekul and F. Palinthorn. 2021. Cassava growers’ opinions towards implementation on collaborative farming project in Khon Kaen province. Prawarun Agr. J. 18(1): 88–94. https://doi.org/10.14456/paj.2021.11. (in Thai)

Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 16: 297–334. https://doi.org/10.1007/BF02310555.

Department of Agricultural Extension. 2019. Cassava Spotted Leaf Disease Prevention and Eradication Project Manual. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Ercan, I., B. Yazici, G. Ocakoglu, D. Sigirli and I. Kan. 2007. Review of reliability and factors affecting the reliability. Available Source: http://interstat.statjournals.net/YEAR/2007/abstracts/0704008.pht, March 10, 2023.

Jaifong, C., N. Seerasarn and T. Puttamuk. 2022. Extension of cassava mosaic disease management in Taphraya district, Sakaeo province. JRKA. 7(10): 67–82. (in Thai)

Khonroo, S., A. Obidiekwu and I. Bunyasiri. 2020. Factors effecting cassava yield gap in Thailand, pp. 2037–2048. In Proc the 15th RSU National Graduate Research Conference, August 13, 2020. (in Thai)

Kuder, G.F. and M.W. Richardson. 1937. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika. 2(3): 151–160. https://doi.org/10.1007/BF02288391.

Niyamangkul, S. 2013. Social Science and Statistical Research Methods Used. Handbook to You, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2018. Cassava Products Supply Chain and Logistics. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2020. Evaluation of the Prevention and Eliminate of Cassava Mosaic Disease Project. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2022. Situation of Important Agricultural Products and Trends in 2023. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Parthanadee, P., J. Buddhakulsomsiri, C. Khompatraporn and C. Monthatipkul. 2009. Supply Chain and Logistics Management for Cassava Products in Thailand. Office of the Higher Education Commission, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Pettong, P. and J. Thanaphanyaratchawong. 2009. Adoption of Good Agricultural Practices for rambutan of farmers in Ban Nasan district, Surat Thani province. Suranaree J. Soc. Sci. 3(2): 109–126. (in Thai)

Plant Protection Research and Development Office. 2018. Manual for the Survey and Surveillance of Cassava Mosaic Disease. 3rd edition. Department of Agriculture, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Putkhao, M. 2015. Plant Protection Research and Development on Cassava Project. Department of Agriculture, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Siriwan, W., N. Hemniam, J. Thawinampan, S. Roekwan, K. Saokham, S. Hunsawattanakul, P. Pleeprom and C. Phumichai. 2020. Study of disease incidence in cassava mosaic disease clean seed. Agricultural Sci. J. 51(2): 181–191. (in Thai)