การประเมินความพร้อมต่อการทำเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

วีรชาติ สุขรัตนไชยกุล
พิชัย ทองดีเลิศ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพร้อมต่อการทำเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดปทุมธานี ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะเข้ามาใช้ในแปลงนา ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องของกรมการข้าว โดยมีจำนวนเกษตรกร 1,556 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวจังหวัดปทุมธานี จำนวน 319 คน 
วิธีดำเนินการวิจัย: เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t–test และ F–test
ผลการวิจัย: เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.97 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า มีรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 212,648.90 บาทต่อปี ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 16.48 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่มีสถานะเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ โดยมีจำนวนพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดเฉลี่ย 24.67 ไร่ ถือครองที่ดินทั้งพื้นที่เช่าและพื้นที่ของตนเอง มีการใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกข้าว ประกอบด้วย การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน พันธุ์ข้าวที่ปลูกมากที่สุดคือ ปทุมธานี 1 เกษตรกรปลูกข้าวตลอดปี ด้วยวิธีหว่านน้ำตม สำหรับความพร้อมต่อการทำเกษตรอัจฉริยะในทุกด้านภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.71)
สรุป: ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เกษตรกรที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและสภาพการทำเกษตรต่างกันมีความพร้อมในการทำเกษตรอัจฉริยะแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 ภาครัฐจึงควรสนับสนุนงบประมาณในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhisalbutra, P. 2021. Technologies utilization in community enterprises business in Pathum Thani province. e-JODIL. 11(1): 118–127. (in Thai)

Bueyen, P. and C. Thirawanutpong. 2019. Study Guidelines of Smart Farm Technology to Support the Development of a Digital and Economic Development Plan for Thailand. 4.0 Case Study of Ban Kaew Orchard. Rambhai Barni Rajabhat University, Chanthaburi. (in Thai)

Intrman, A., B. Wichaidist, P. Chansong, R. Intama, L. Seepanomwan and K. Khumkhun. 2021. Improvement of rice production efficiency using smart agriculture technology. In Proc. the Rice Research Conference 2021: Rice Research Center Groups in Central, Eastern and Western Region. p. 239. (in Thai)

Maksamut, K. 2018. Use of Information and Communication Technology for Agriculture of Ornamental Plant Growers Khlong 15, Ongkharak District, NakhonNayok Province. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2021. Policies and action plans for smart agriculture 2022-2023 of the Ministry of Agriculture and Cooperatives. Available Source: https://www.moac.go.th/news-preview-432791791102, December 27, 2021. (in Thai)

Niyamangkul, S. 2013. Social Science and Statistical Research Methods Used. Book to You, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Pawasuttikul, S. 2008. Factors Affecting the Adoption of Bio-rice Farming Technology in Suphan Buri. MS Thesis, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Praphaisri, N., K. Kanokhong, N. Rungkawat and P. Sakkatat. 2015. Adoption of wet season rice production of farmers in Mae Ai district, Chiang Mai. J. Agri. Res. Extension. 32(1): 39–46. (in Thai)

Rice Department. 2021. Development Project of Service Centers and Management of High Precision Rice Cultivation in Large Prototype Fields, 2021. Bureau of Rice Production Extension, Bangkok, Thailand. 6 pp. (in Thai)

Rungruengnatthakun, P., B. Somboonsuke, A. Nissapa and P. Tarasook. 2019. Motivation factors affecting rubber farmers in the Na Thawi district of Songkhla province to be “Smart Farmers”. HAJ. 17(2): 159–180. (in Thai)

Saee-Art, P., S. Fongmul, P. Kruekum and P. Jeerat. 2019. Farmer’s adoption on dry-season rice production technology in Kheuang municipality, Chiang Khong district, Chiang Rai province. J. Agri. Prod. 1(2): 51–62. (in Thai)

Surapap, S. 2020. Factors Affecting to Being Smart Farmer: Case Study of Farmers in Lam Sonthi District, Lopburi Province. Independent Study, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Temngamthana, S., T. Kongsila and S. Rangsipaht. 2018. Adaptation of farmers towards extension of large-scale farming in Pathum Thani province. JVTE. 8(16): 9–15. (in Thai)

Tungpitakkrai, A. and P. Thanaritpaisan. 2022. Innovative patterns and production technology of large paddy fields Phak Mai subdistrict, Huai Thap Than district Sisaket province JOMLD. 7(3): 234–250. (in Thai)