การยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันเทคโนโลยีอัจฉริยะได้เข้ามามีบทบาทด้านการเกษตรมากขึ้น เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวได้ทันต่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม การยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะ และปัจจัยที่แตกต่างกันต่อการยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวจำนวน 116 ราย ถูกสุ่มจากสมาชิกแปลงใหญ่ข้าว 162 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่า t-test และค่า F-test
ผลการวิจัย: เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.41) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61.06 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 56.90) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1–4 คน (ร้อยละ 52.59) ประสบการณ์การปลูกข้าวเฉลี่ย 32.15 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.48) เป็นพื้นที่เช่า มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 29.16 ไร่ โดยปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 30.17 ต้นทุนในการปลูกข้าวเฉลี่ย 4,926 บาทต่อไร่ต่อฤดูกาล รายได้จากการจำหน่ายข้าวเฉลี่ย 8,581.03 บาทต่อไร่ต่อฤดูกาล ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 953.53 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูกาล แรงงานในการปลูกข้าว 1–2 คน (ร้อยละ 64.66) โดยเงินทุนมาจากสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 59.06) และเกษตรกรนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
สรุป: เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.50) และเกษตรกรที่มีอายุ ระดับการศึกษา พื้นที่ปลูกข้าว และผลผลิตข้าวที่แตกต่างกันมีการยอมรับเทคโนโลยีอัจฉริยะแตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bang Bo District Agricultural Extension Office. 2023. Agricultural household. Available Source: http://bangbo.samutprakan.doae.go.th/link/wikipedia.pdf, August 16, 2023. (in Thai)
Bangkok Bank. 2019. IoT use cases for smart agriculture. Available Source: https://www.bangkokbank, May 21, 2023. (in Thai)
Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 16: 297–334. https://doi.org/10.1007/BF02310555.
Division of Academic Enhancement. 2015. Academic Forum: Digital Economy, Policy for Driving the New Economy. The Secretariat of the House of Representatives, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Eiadnui, S. 2012. Acceptance of Rice Production Technology by Farmers in Phatthalung Province. MS Thesis, Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi. (in Thai)
Nammontri, R., V. Katekao, J. Nimpanich and S. Chokprajakchart. 2021. Guidelines for the development of large-scale farming policy. HSJNMC. 15(3): 287–299. (in Thai)
Nantajan, S. 2007. Factors Related to Acceptance the Use of Biotechnology by Volunteer Doctors Kamphaeng Saen District, Nakhon Pathom Province. MS Thesis, Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi. (In Thai)
Niyamangkul, S. 2013. Research Methods in Social Science and Statistics. Book to You Publishing, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Saee-Art, P., S. Fongmul, P. Kruekum and P. Jeerat. 2019. Farmer’s adoption on dry-season rice production technology in Kheuang Municipality, Chiang Khong district, Chiang Rai province. J. Agri. Prod. 1(2): 51–62. (in Thai)
Suraphaaph, S. 2022. Factors Affecting Smart Agriculture: A Case Study of Farmers in Lam Sonthi District, Lopburi Province. Independent Study, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Tungpitakkrai, A. and P. Thanaritpaisan. 2022. Innovative patterns and production technology of large paddy fields Phak Mai subdistrict, Huai Thap Than district, Sisaket province. JOMLD. 7(3): 234–250. (in Thai)
Wirakul, W. 2021. Factors affecting the competitiveness of large rice plots, Khon Kaen province. NEU Academic and Research Journal. 11(2): 197–211. (in Thai)
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd edition. Harper and Row Publication, New York, USA.