การใช้ยารักษาสตรีหมดประจำเดือน
Main Article Content
Abstract
สตรีวัยหมดประจำเดือนจำนวนไม่น้อยที่มีอาการผิดปกติหรือประสบปัญหาทั้งทางสุขภพและทางอารมณ์ โดยตนเองไม่ทราบสาเหตุหรือไม่ได้รับการแก้ไขหรือคำปรึกษาที่เหมาะสม อาการผิดปกตินี้เกิดจากการทำงานของรังไข่ซึ่งเคยตกไข่เดือนละ 1 ใบมาตลอด แต่เมื่ออายุประมาณ 42-45 ปี จะเริ่มทำงานน้อยลง รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สร้างฮอร์โทนหญิง 2 ชนิดคือ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ทำงานน้อยลง ทำให้สตรีวัยนี้มีปริมาณของฮอร์โมน ทำงานน้อยลง ทำให้สตรีวัยนี้มีปริมาณของฮอร์โมนในร่างกายลดลงด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้จะดำเนินต่อไปจนประมาณอายุ 49-50 ปี สตรีส่วนมากจะหมดประจำเดือน และการสร้างฮอร์โมนของรังไข่จะสิ้นสุดลงด้วย
ธรรมชาติเองก็พยายามจะช่วยเสริมภาวการณ์ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิงโดยการนำฮอร์โมนเพศชาย(androstenedione) บางส่วนซึ่งผลิตโดยต่อมหมวกไตมาเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ดังนั้นในตรีบางคนโดยเฉพาะคนที่มีไขมันมากหน่อยแม้ประจำเดือนจะหยุดไปหลายปีแล้ว แต่ก็ยังตรวจพบว่ามีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ในระดับที่เพียงพอ ไม่ทำให้เกิดอาการอันเนื่องมาจากการขาดประจำเดือน สตรีบางคนก็ได้รับสารจากพืช เรียก phytoestrogen ซึ่งเป็นสาร flavone,isoflavone และอนุพันธ์ของ coumestan มีฤทธิ์เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิง สารนั้นพบมากในถั่วเหลือง ข้าวสาลี พวกแยม หัวกลอย มันเทศ เป้นต้น สตรีบางกลุ่มโดยเฉพาะสตรีชาวญี่ปุ่นมักจะรับประทานอาหารพวกถั่วเหลือง เต้าหู้ ค่อนข้างมาก ทำให้อาการร้อนวูบวาบตามตัวจากการขาดฮอร์โมนพบได้น้อย
วิถีชีวิตของแต่ละคนอาจมีผลต่ออาการต่างๆ ในระยะเริ่มแรกนี้ สตรีที่อยู่ในสังคมเกษตรพื้นบ้านมักจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ว่าเป็นวัย “เลือดจะไปลมจะมา” ซึ่งหมายความว่าอาการเหล่านี้เป็นของธรรมดา เมื่อเกิดแล้วก็หายเองได้โดยไม่ต้องรักษา การทำงานหนักในไร่นา การเข้าวัดปฏิบัติธรรมและชีวิตที่ไม่เครียดมักจะทำให้อาการผ่านไปได้ โดยผู้หญิงไม่ได้สังเกตหรือไม่รู้สึกเดือดร้อนเลย แต่สตรีสมัยใหม่ซึ่งมีภารกิจรับผิดชอบมาก ความเครียดจากอาชีพ ตลอดจนวิถีชีวิตแบบชาวเมืองสมัยใหม่อาจจะมีผลต่ออาการต่างๆของการขาดฮอร์โมนเพศหญิงเหล่านี้ได้มาก
ถ้าการขาดฮอร์โมนนั้นค่อยเป็นค่อยไป ร่างกายก็จะปรับตัวได้ ทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปอย่างไม่รุนแรง อาจจะไม่รู้สึกในบางคน แต่ถ้าการขาดฮอร์โมนนั้นเป็นไปอย่างกะทันหันในผู้หญิงที่มีอายุน้อย เช่นในรายที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดรังไข่ออกหมดทั้งสองข้างเมื่ออายุก่อน 40 ปี โดยไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน จะพบอาการทางอารมณ์และทางระบบเส้นเลือดได้มาก รวมทั้งผลต่อผิวหนัง ใบหน้า และเต้านมก็จะมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
Article Details
Upon acceptance of an article, the Pharmacological and Therapeutic Society of Thailand will have exclusive right to publish and distribute the article in all forms and media and grant rights to others. Authors have rights to use and share their own published articles.