การประยุกต์วิธีวิเคราะห์อภิมานในการวิเคราะห์อุณหภูมิที่มีผลต่อ การผลิตไก่ไข่

Main Article Content

ธนาวุฒิ ศรีนิรัตน์
ศักดิ์ศรี รักไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประยุกต์วิธีวิเคราะห์อภิมานในการวิเคราะห์อุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่ไข่ แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่ไข่จากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ 2) รวมระดับอุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่ไข่ที่อยู่ในช่วงระยะการเลี้ยงเดียวกันไว้ในกลุ่มเดียวกันเพื่อรวมความถี่และวิเคราะห์ฐานนิยม 3) ทดสอบความแตกต่างของความถี่ของระดับอุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่ไข่ด้วยไคสแควร์และ 4) ยืนยันระดับอุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่ไข่ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยด้านสัตว์ปีกและมีหน้าที่รับผิดชอบหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต(ต่อเนื่อง) สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่เล็กช่วงอายุ 0-6 สัปดาห์คือ 32 33 และ 35 องศาเซลเซียส ระดับอุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่รุ่นช่วงอายุ 7-18 สัปดาห์อยู่ระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส และระดับอุณหภูมิที่มีผลต่อการผลิตไก่ไข่ช่วง 19-80 สัปดาห์อยู่ระหว่าง 18-30 องศาเซลเซียส

Article Details

How to Cite
ศรีนิรัตน์ ธ. ., & รักไทย ศ. . (2024). การประยุกต์วิธีวิเคราะห์อภิมานในการวิเคราะห์อุณหภูมิที่มีผลต่อ การผลิตไก่ไข่. Journal of Vocational Education in Agriculture, 8(2), 48–61. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JVIA/article/view/260953
บท
บทความวิจัย

References

National Statistical Office. (2021). The summary of the labor force survey for December 2020. Available from https://www.nso.go.th. Accessed date: 1 October 2023. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. (2020). Agricultural economic conditions in 2020 and outlook for 2021. Available from https://www.oae.go.th. Accessed date: 1 October 2023. (in Thai)

Kasikornbank. (2021). Smart agriculture: The agriculture driven by innovation (January 2021). Available from https://katalyst.kasikornbank.com. Accessed date: 1 October 2023. (in Thai)

Hy-Line International. (2019). Hy-Line Brown commercial management guide. Iowa: Hy-Line.

Nitsan, Z., et al. (1995). Intubation of weight-selected chicks with soybean oil or residual yolk: Effect on early growth and development. Poultry Science, 74(6), 925-936.

Siripachornwet, K. (2016). Factors affecting chick mortality rate during brooding and growth performance of broilers (Undergraduate seminar, Prince of Songkla University). (in Thai)

Bell, D. D., & Weaver, W. W. (2002). Commercial chicken meat and egg production. 5th ed. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers.

Tharachai, P. (2017). Poultry farm management. Chiang Mai: Maejo University. (in Thai)

Nawab, A., et al. (2018). Heat stress in poultry production: Mitigation strategies to overcome the future challenges facing the global poultry industry. Journal of Thermal Biology, 78, 131-139.

Glass, G.V., et al. (1981). Meta-Analysisin Social Research. London: Sage Publications.

Pulsuwan, S. (1996). Meta-analysis: Constructing knowledge from research. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Wiratchai, N. (1999). Meta-analysis. Bangkok: Nichin Advertising Group. (in Thai)

Shelby, L. B., & Vaske, J. J. (2008). Understanding meta-analysis: A review of the methodological literature. Leisure Sciences, 30, 96-110.

Borenstein, M., et al. (2009). Introduction to meta-analysis. West Sussex: Wiley.