การพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการจัดการขยะมูลฝอย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1: กรณีศึกษาโรงเรียน เสม็ดจวนวิทยาคม อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

นินท์รพัทธ พรหมฤทธิ์
กนกรัตน์ รัตนพันธุ์
สุวิทย์ จิตรภักดี
อุมาพร มุณีแนม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประเภทกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อศึกษาปริมาณ และองค์ประกอบของขยะในโรงเรียนเสม็ดจวนวิทยาคม 2) สร้างหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา
เพื่อการจัดการขยะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการจัดการขยะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเสม็ดจวนวิทยาคม จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ หลักสูตรการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา
เพื่อการจัดการขยะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test


ผลการศึกษา พบว่า โรงเรียนมีปริมาณขยะทั้งหมดระหว่าง 47.6-54.5 กิโลกรัมต่อวัน หรือเฉลี่ย 51.7 กิโลกรัม
ต่อวัน ประกอบด้วย ขยะรีไซเคิลมีปริมาณเฉลี่ย 20.00 กิโลกรัมต่อวัน หรือร้อยละ 38.68 ซึ่งมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือ ขยะทั่วไปมีปริมาณเฉลี่ย 16.20 กิโลกรัมต่อวัน หรือร้อยละ 31.70  ขยะอินทรีย์มีปริมาณเฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อวัน หรือ


ร้อยละ 29.01 และขยะอันตรายมีปริมาณเฉลี่ย 0.50 กิโลกรัมต่อวัน หรือร้อยละ 0.91 ตามลำดับ ผลการสร้างหลักสูตร พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย 7 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) เสม็ดจวนของหนู 2) รู้จักขยะ 3) วิเคราะห์สัมพันธ์ 4) เลือกสรรกำหนด 5) หมดจดจัดการ 6) ร่วมใจพัฒนา และ 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร พบว่า หลังจากใช้หลักสูตรนักเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในระดับมาก (= 4.49 SD. = 0.54) และโรงเรียนมีปริมาณขยะลดลงร้อยละ 19.07

Article Details

How to Cite
พรหมฤทธิ์ น., รัตนพันธุ์ ก. ., จิตรภักดี ส. ., & มุณีแนม อ. (2021). การพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการจัดการขยะมูลฝอย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1: กรณีศึกษาโรงเรียน เสม็ดจวนวิทยาคม อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช . Journal of Vocational Education in Agriculture, 5(1), 9–27. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JVIA/article/view/249341
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ป 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จำกัด.

ณรงค์ ใจหาญ. (2558). การจัดการขยะวาระแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก http://www.siamrath.co.th/ web/?q=การจัดการขยะ-วาระแห่งชาติ.

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

โรงเรียนเสม็ดจวนวิทยาคม. (2561). ข้อมูลนักเรียนประจำปี 2561. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ฐานรัฐ.

สุทธิพงศ์ นิพัทธนานนท์. (2556). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา z(H)eroWaste ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาการแนะแนวและแนวทางการจัดกิจกรรมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โรงเรียนเสม็ดจวนวิทยาคม. (2562). แผนที่โรงเรียนเสม็ดจวนวิทยาคม. เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/maps/place/Samet+Chuan+Wittayakhom+School.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2555). แนวทางสร้างสรรค์ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2561). การวิจัยเชิงทดลอง. เข้าถึงได้จาก http://home. dsd.go.th/ kamphaengphet /km/ information/RESECARCH/ 06Experimental_ Research.pdf.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2557). คู่มือโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (อีโค สคูล) ตอนบันได 7 ขั้นเครื่องมือการจัดการกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บริษัท ป่าฝน เน็กซ์สเต็ป จำกัด.

กิตติมา เนตรพุกกณะ. (2563). การพัฒนากระบวนการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

ชลิดา จูงพันธ์ และนฤพจน์ พุธวัฒนะ. (2563). การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน (Eco-school): กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 11(1). 115 – 130.

กนกรัตน์ นาวีการ. (2559). สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการจัดการขยะพื้นที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

นิรันดร์ ยิ่งยวด. (2560). การพัฒนาความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะ สำหรับนิสิตสาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมระหว่าเครือข่ายมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University. 10(1). 770 - 785.

พระเทพสุรีย์ จันขาว และปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอย” เพื่อส่งเสริมความรู้ จิตสานึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษานักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดแจงร้อนเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. E-Journal of Education Studies, Burapha University. 2(1). 1 - 18.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล และคณะ. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องขยะพลาสติกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(1). 116 - 132.

วลัยลักษณ์ อมรสิริพงศ์ และคณะ. (2558). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม: กรณีศึกษา โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 10(2). 16 - 23.

เสกสรร ดาราจร. (2558). การจัดการขยะอินทรีย์แบบบูรณาการในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).