แบบจำลองค่าความเข้มแสงธรรมชาติของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

Tada Pradip na talang
ศักดิ์ศรี รักไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองค่าความเข้มแสงธรรมชาติของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อใช้ออกแบบเทคโนโลยีการควบคุมความเข้มแสงธรรมชาติสำหรับประโยขน์ในการเกษตรกรรมหรืองานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการแสงธรรมชาติ โดยการศึกษาโครงสร้างสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแสงธรรมชาติ จากการสร้างสถานีเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาแบบเฉพาะพื้นที่และบันทึกข้อมูลตามเวลาจริง (Real time) จำนวน 5 ข้อมูล ได้แก่ ความเข้มแสงธรรมชาติ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ อัตราเร็วลม และ ทิศทางของลม ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี ( 8°52'42"N, 98°49'30"E)แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยแปลงข้อมูลเป็นลอการิทึมฐานธรรมชาติ (Natural Logarithm Transformation) หรือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับสิ่งที่เราสนใจโดยอาศัยการแปลงข้อมูลโดยใช้ค่าล็อกธรรมชาติ จึงนำไปสร้างเป็นแบบจำลองค่าความเข้มแสงธรรมชาติในรูปแบบของ Linear Regression with Natural Logarithm Transformation Model หรือ LRNLT-Model จากนั้นทดสอบสมรรถนะของแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลที่จากสถานีเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาดังกล่าว พบว่าค่าความเข้มแสงธรรมชาติที่คำนวนได้จากแบบจำลอง(การคำนวณ) มีความสอดคล้องกับค่าที่ได้จากการวัดจริงเป็นอย่างดีโดยมีความแตกต่างของข้อมูลในรูปของค่าที่แสดงถึงความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าคำนวณจากแบบจำลองกับค่าจากการวัดจริง (RMSD) เท่ากับ ร้อยละ 8.18 และค่าความเอนเอียงของข้อมูลมีทิศทางไปทางด้านค่าจากการวัดมากกว่าค่าจากการคำนวณ (MBD) เพียงร้อยละ 0.23

Article Details

How to Cite
Pradip na talang, T., & รักไทย ศ. (2022). แบบจำลองค่าความเข้มแสงธรรมชาติของจังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Vocational Education in Agriculture, 6(1), 23–38. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JVIA/article/view/252099
บท
บทความวิจัย

References

กัญญกาญจน์ พูนศิริ และกัลยา กองเงิน. (2557). อิทธิพลของความเข้มแสงต่อสรีรวิทยาบางประการและการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในใบข้าวเหนียวดำ. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. (น. 882-890). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Pallardy, S. G. (2008). Physiology of Woody Plants. 3rd Ed. Burlington: Elsevier.

เฉลิมพล แซมเพชร. (2535). สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์

อรุณี จันทรสนิท และคณะ. (2547). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photo Synthesis) เข้าถึงได้จาก http://www.sc.chula.ac.th/courseware/ 2305103/ add_topics/add3/2_photosynthesis.html

นิตยา เกตุแก้ว. (2564). การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมการผลิตไข่น้ำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบันฑิต, สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน).

รุ่งรัตน์ วัดตาล. (2548). การศึกษาแบบจำลองและลักษณทางสถิติของความแข้มแสงสว่างธรรมชาติในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นัสรีนา เจ๊ะมะและคณะ. (2559). การสร้างเกรตติงสเปกโตรมิเตอร์โดยใช้แผ่นซีดี (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เสริม จันทร์ฉาย และคณะ. (2545). การศึกษาแบบจำลองและลักษณะทางสถิติของรังสีดวงอาทิตย์ในประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ.

FAO. (2012). FAOSTAT. from https://www.fao.org/faostat/en/#home.

Corvalan, C. F. & Patz, J. A. (2004). Global warming kills trees, and people. Bulletin of the World Health Organization, 82 (‎7)‎: 481.

Aggarwal, P. K., & Penning de Vries, F. W. T. (1989). Potential and water-limited wheatt yields in rice based cropping systems in Southeast Asia. Agricultural Systems, 30(1), 49--69.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษธานี. (2562). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.opsmoac.go.th/suratthani-dwl-files-411591791865

จริญญา ฤทธิรัมย์ และอารักษ์ ธีรอำพน. (2562). ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมในระบบแพลนท์แฟคทอรี่. แก่นเกษตร, 47(6), 1243-1250.

อรัญ ประกอบสัญท์ และคณะ. (2559). การพัฒนาระบบควบคุมการส่องสว่างสำหรับการปลูกพืชด้วยเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(2), 1-8.

เอกพันธ์ มาเลิศ และเอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย. (2562). การประเมินผลของความแปรปรวนภูมิอากาศต่อศักยภาพผลผลิตของข้าวนาสวนในจังหวัดชัยนาทด้วยแบบจำลอง DSSAT-CERES. ใน 12th THAICID NATIONAL SYMPOSIUM. (น.73-86). นนทบุรี: กรมชลประทาน.

ณรัฐ รุจิรัตน (2557). ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาและระบบคุณภาพ เข้าถึงได้จาก https://www.nimt.or.th/training/files/CognitiveMetrologyAndQualitySystems.pdf.

ตรีนุช เอลลิส และคณะ. (2562). แบบจำลองสำหรับคำนวณค่ารังสีรวมของดวงอาทิตย์จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาสำหรับจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 11(2). 132-141.

เสริม จันทร์ฉาย. (2560). รังสีอาทิตย์. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

Maximintegrated. (2001). RS-485 (EIA/TIA-485) Differential Data Transmission System Basics. Retrived 1 November 2021. From https://www.maximintegrated.com/.