ผลของอุณหภูมิการกกที่แตกต่างกันต่อสมรรถภาพการผลิตและสรีระวิทยาของไก่ประดู่หางดำ (Gallus gallus)

Main Article Content

อาชว์สุพงศ์ ขันแข็ง
ศักดิ์ศรี รักไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อการกกที่แตกต่างกันต่อสมรรถภาพการผลิตและสรีรวิทยาของไก่ประดู่หางดำช่วงอายุ 1 วันถึง 42 วัน (6 สัปดาห์) โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (t-Test) ใช้ลูกไก่ประดู่หางดำอายุ 1 วันจำนวน 100 ตัวแบ่งไก่ทดลองออกเป็น 4 หน่วยทดลองๆละ 25 ตัวกำหนดระดับอุณหภูมิในการเลี้ยง 4 ระดับคือหน่วยที่1 อุณหภูมิห้อง ไม่ควบคุมอุณหภูมิ (T1) หน่วยที่ 2 ควบคุณอุณหภูมิที่ 29 องศาเซลเซียส(T2) หน่วยที่ 3 ควบคุณอุณหภูมิที่ 32 องศาเซลเซียส (T3) และหน่วยที่ 4 ควบคุณอุณหภูมิที่ 35 องศาเซลเซียส (T4) ดำเนินการศึกษาอัตราการรอดของลูกไก่โดยการนับจำนวนไก่ที่มีชีวิตหลังจากปรับสภาพลูกไก่ 6 วันทุกวัน ศึกษาอัตราการเจริญเติบโต โดยวัดความยาวลำตัวความยาวปีกความยาวแข้งความยาวรอบแข้ง หลังจากปรับสภาพลูกไก่ 6 วัน 1 ครั้ง/สัปดาห์และศึกษาอัตราการแลกเนื้อน้ำหนักอาหารที่เหลือน้ำหนักไก่ที่เพิ่มหลังจากปรับสภาพลูกไก่ 6 วันทุกวัน ผลจากการศึกษาพบว่าอัตราการรอดคิดเป็นร้อยละ 100 ของทุกหน่วยทดลองอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยพบว่า T1 และ T2 มีค่ามากที่สุดคือ 12.34 รองลงมาคือ T4 และ T3 คือ 12.33 และ 12.31 ตามลำดับซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p >0.05) ของทุกหน่วยทดลอง อัตราการแลกเนื้อเฉลี่ยพบว่า T2 และ T3 มีค่ามากที่สุดคือ 2.19 รองลงมาคือT1 และ T4 คือ 2.18 และ 2.15 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
ขันแข็ง อ., & รักไทย ศ. (2022). ผลของอุณหภูมิการกกที่แตกต่างกันต่อสมรรถภาพการผลิตและสรีระวิทยาของไก่ประดู่หางดำ (Gallus gallus). Journal of Vocational Education in Agriculture, 6(1), 1–12. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JVIA/article/view/252836
บท
บทความวิจัย

References

ปราณี รอดเทียน. (2555). การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำเชียงใหม่เป็นอาชีพหลักในรูปแบบเครือข่ายอย่างยั่งยืนในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ซิมโอน ปัญญา. (2560). ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ เข้าถึงได้จาก http://www.thainativechicken.com.

เจนรงค์ คำมงคุณและคณะ. (2559). คู่มือการเลี้ยงไก่พื้นเมืองกรมปศุสัตว์ ระบบปล่อยอิสระและอินทรีย์. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด สาขา4

เฉลียว บุญมั่น. (2552). การประเมินความเปนไปได้ของการผลิตไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชน กรณีศึกษา: ไก่ย่างไม้มะดัน ไก่ย่างบ้านแคนและการค้าขายไก่พื้นเมืองในตลาดบางแหงในจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธรและอุบลราชธานี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

นฤมล สมคุณา และคณะ. (2563). ผลการเสริมฟ้าทะลายโจรในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 53-63.

เปลื้อง บุญแก้ว และคณะ. (2558). ผลการเสริมเยื่อในลำต้นสาคูในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองไทยในระยะเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(2), 113-118.

ณัฐญา ดวงหะคลัง และคณะ. (2563). ผลของการเสริมอาหารสมุนไพรต่อการเจริญเติบโตและการตอบสนองทางชีวเคมีโลหิตในไก่พื้นเมืองไทย ไก่ไทยสายพันธุ์สังเคราะห์และไก่ลูกผสมพื้นเมือง. แก่นเกษตร, 48(6), 1414-1421.

ประภา เหลาสมบูรณ์ และคณะ. (2556). ภูมิปญญาการใชสมุนไพรในไกพื้นเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบานจอมบึง, 1(1), 22-32.

สุชีวา จันทร์หนู และธวัชชัย โพธิ์เฮือง. (2562). คุณภาพลูกไก่และการประเมินลูกไก่อายุ1 วัน ณ โรงฟักไข่. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข., 29(2), 117-128.

Nitsan, Z., et al. (1995). Intubation of weight selected chicks with soybean oil or residual yolk: effect on early growth and development. Poultry Science, 74(6), 925-936.

Bell, D. D., and Weaver, W. D. (2002). Commercial chicken meat and egg production. 5th ed. Boston, MA: Springer.

Freeman, B. M. (1963). The gaseous metabolism of the domestic chicken. III The oxygen requiremens of the chicken during the period rapid growth. British Poultry Science, 4(2), 169-178.

ขวัญศตภรณ์ ศิริพชรเวทย์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตายของลูกไก่ในระยะกกและสมรรถภาพ การเจริญเติบโตของไก่เนื้อ. (สัมมนาระดับปริญญาตรี ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

วรพล เองวานิช และสุจินต์ สิมารักษ์. (2545). ภาวะเครียดเนื่องจากภาวะร้อนในไก่. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(1), 159-167.

ยุพาพร ไชยสีหา และคณะ. 2554. ผลของอุณหภูมิสภาพแวดล้อมต่อกลไกการควบคุมวงจรการสืบพันธุ์โดยระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อในไก่พื้นเมืองไทยเพศเมีย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ชัยยุทธ ดวงเดือน และคณะ. (2550). ผลของภาวะเครียดเนื่องจากความร้อนต่อสมรรถนะการผลิตและการตอบสนองทางสรีรวิทยาในไก่พื้นเมืองพันธุ์ชีและไก่เนื้อ. วารสารสัตว์แพทย์, 17(3), 122-133.

Hy-Line International. (2016). คู่มือการจัดการไก่ไข่สายพันธุ์ HY-LINE BROWN เข้าถึงได้จาก https://www.hyline.com/filesimages/Hy-Line-Products/Hy-Line-Product-PDFs/Brown/ BRN%20COM%20TAI.pdf

กมลวรรณ ศรีละพันธ์. 2562. ผลของความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของไก่เนื้อ. (สัมมนาระดับปริญญาตรี ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

Sekeroglu, A., et al. (2011). Effect of Stocking Density on Chick Performance, Internal Organ Weights and Blood Parameters in Broilers. Journal of Animal and Veterinary Advances, 10(2), 246-250.