นวัตกรรมการพัฒนาเศษวัสดุจากการเกษตรสู่วัสดุซับน้ำเพื่อการปลูกต้นไม้

Main Article Content

สินีนาฏ รามฤทธิ์
นรพล รามฤทธิ์

บทคัดย่อ

วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและนวัตกรรมการพัฒนาเศษวัสดุจากการเกษตรสู่วัสดุซับน้ำเพื่อการปลูกต้นไม้ โดยศึกษาคุณสมบัติ  ด้านการดูดซึมน้ำ ด้านการระเหยของน้ำ และลักษณะการขึ้นรูป โดยผู้วิจัยนำเศษวัสดุทางการเกษตร มาเป็นส่วนผสมและใช้วิธีการหาส่วนผสมโดยเข้าสูตรตารางเพื่อไล่อัตราส่วนผสมจากมากไปหาน้อยผสมวัตถุดิบกับดินและทดลองตามกระบวนการทางการทดลองแล้วหาค่าคุณสมบัติที่มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อนำมาเผาที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส พบว่า ขี้เลื่อยจะมีความชื้นคงอยู่ร้อยละ 13.98  รองลงมาคือ แกลบ มีความชื่นคงอยู่ร้อยละ 11.70  และสุดท้ายคือ ใบไม้มีความชื่นคงเหลืออยู่ร้อยละ 9.22  ผู้วิจัยได้เลือกสูตรที่ผสมด้วยขึ้เลื่อยเพราะเป็นสูตรที่สามารถดูดซับความชื้นได้มากที่สุดกว่าวัตถุดิบอื่น โดยมีอัตราส่วนผสม ดินแดงร้อยละ 70 ขี้เลื่อยที่ใช้แล้วร้อยละ 30 ผลการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาเศษวัสดุจากการเกษตรสู่วัสดุซับน้ำเพื่อการปลูกต้นไม้ ในงานวิจัย พบว่า มีการนำทรัพยากรมาใช้คุ้มค่า ช่วยลดปริมาณของเสีย  และลดภาระในการจัดเก็บเศษวัสดุรวมทั้งสร้างมูลค่าให้กับเศษวัสดุของชุมชน นอกจากนี้ วัสดุซับน้ำดังกล่าวยังสามารถช่วยในการกับเก็บความชื้นไว้กับต้นไม้ได้และช่วยดึงความชุ่มชื้นให้อยู่กับดินเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้และต้องการความชุ่มชื้นในพื้นที่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ.[อินเทอร์เน็ต] 2564 [สืบคุ้นเมื่อ 21 มกราคม 2564] จาก : https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/climate/climate-change/

สุนันทา มิตรงาม. ไม้ใหญ่มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ. [อินเทอร์เน็ต] 2564 [สืบคุ้นเมื่อ 21 มกราคม 2564] จาก : http://article.culture.go.th/index.php/layouts-modules-positions/3-column-layout-9/223-2020-09-09-03-47-27

เก็บค่าใช้น้ำเกษตรกรไม่เกิน 50 สตางค์. [อินเทอร์เน็ต] 2560 [สืบคุ้นเมื่อ 21 มกราคม 2564] จาก : https://news.thaipbs.or.th/content/266529

ExpresSo. 9 วิธีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร. [อินเทอร์เน็ต] 2564 [สืบคุ้นเมื่อ 25 มกราคม 2564] จาก : https://blog.pttexpresso.com/how-to-be-environmentally-friendly/