ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดบริการแหล่งนันทนาการชุมชน : กรณีศึกษา สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

จิรภัทร พิศชาติ
ธนาสิทธิ์ ศิริศิลป์
วารี นันทสิงห์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดบริการแหล่งนันทนาการชุมชน : กรณีศึกษา สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดบริการแหล่งนันทนาการชุมชน 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการจัดบริการแหล่งนันทนาการชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการแหล่งนันทนาการชุมชน สวนสาธารณะเกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำ (เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) จำนวน 401 ตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ใช้บริการแหล่งนันทนาการชุมชน สวนสาธารณะเกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำ มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการแหล่งนันทนาการชุมชน อยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในด้านความสะอาด เป็นระเบียบ มากที่สุด และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านความปลอดภัย 2) ผู้ใช้บริการแหล่งนันทนาการชุมชน สวนสาธารณะเกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำ (เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) ที่มีความแตกต่างกันทางด้าน เพศ อายุ และอาชีพ ที่เข้ามาใช้บริการสวนสาธารณะ มีความคิดเห็นต่อการจัดบริการแหล่งนันทนาการชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ขณะที่ผู้ใช้บริการสวนสาธารณะที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริการแหล่งนันทนาการชุมชน ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2560.

สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลดกระทรวงมหาดไทย. รายงานผลการดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทยในรอบ 1 ปี (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2550). 2550.

พระราชบัญญัติเทศบาล. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 13). [อินเทอร์เน็ต]. 2552. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564] จาก: http://www. krisdida.go.th.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564). [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564] จาก: http://www. mots.go.th.

ไพฑูรย์ โพธิ์สว่าง. การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์. ชลบุรี: สำนักพิมพ์คัม อิน. 2560.

สกลรัตช์ คงรอด และอัญญาณี อดทน. ศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการสวนสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 2561; 2(1): 58-61.

มนสิชา โลหะนาคะกุล และวราลักษณ์ คงอ้วน. (2561). การจัดการพื้นที่สาธารณะในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 2561; 27(2): 25-27.

จำรัส มือขุนทด. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสวนสาธารณะของเทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. [ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2559.

ธนภูมิ เทิ้มแพงพันธุ์. ความพึงพอใจของประชาชนที่มาใช้บริการสวนกาญจนาภิเษก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

ภัทราวดี อิ่มศิริ. (2548). การให้บริการสวนสาธารณะเขตลาดกระบัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2548.

Parasuraman, A., Zeithaml, VA., and Berry, LL. A conceptual model of service quality and its implication for future research. Journal of Marketing, 1985; 49: 41-50.

Yamane, T. Statistics: An Introductory. (3rd. Ed.) New York. Harper and Row Publications. 1967.